วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค (29/02/2559)
                                กระบวนการแปลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแปลงานที่ดี แต่ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญไม่แตกต่างกันเลยนั่นคือ โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะสั้นหรือว่ายาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไร สามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของประโยคนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน
                                สำหรับการแปลประโยคที่ซับซ้อนหรือที่เรียกกันว่าประโยคโครงสร้างลึกนั้น ถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นและเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วนั้นจะช่วยให้เราวิเคราะห์ความหมายได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น ดังนั้น ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ โดยจะยึดหลักตามหน้าที่และความนิยมใช้ในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า กระสวนหรือแบบของคำกริยา (verb pattern) ส่วนไนดาและเทเบอร์ ได้แยกประโยคพื้นฐานของภาษาอังกฤษไว้ 7 แบบ ซี่งเรียกว่า ประโยคแก่น (Kernel sentence) และ สเตจเบอร์ก ( Stageberg) แยกประโยคพื้นฐานที่เรียกว่า ประโยคเปลือย (Bare sentence) ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างของโครงสร้างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบีและไนดา ดังรูปภาพดังต่อไปนี้


                ดังนั้นสามารถสรุป โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ได้ว่าสำหรับประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะสั้นหรือว่ายาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไร สามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน
ทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปลเป็นการแปลที่มีขั้นตอนอย่างชัดเจนในเรื่องของลำดับคำและหน้าที่ในประโยคเพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น