วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสอนแบบ Teach less ,Learn more

Learning Log 3 (18 /08/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
วิธีการสอนในยุคปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวิธีมากขึ้นซึ่งวิธีการสอนนั้นจะพัฒนาไปตามพัฒนาการสอนของผู้เรียน  ดิฉันในฐานะนักศึกษาครุศาสตร์ที่ในอนาคตอีก2ปีจะไปเป็นผู้สอน จึงว่าเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสอนไว้หลายรูปแบบเพื่อพร้อมกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพที่แท้จริงและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และในปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังพบปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง คือการศึกษาซึ่งวิธีการสอนของประเทศไทยนั้นจะมีแนวทางการสอนที่สืบเนื่องกันมานานมากทำให้รูปแบบการสอนส่วนมากก็จะเป็นวิธีที่ครูป้อนข้อมูลให้นักเรียนด้านเดียว ทำให้นักเรียนอาจขาดทักษะการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเองไปได้ และวิธีการสอนนั้นก็ไม่สามารถพัฒนาให้นักเรียนก้าวไปได้ไกลกว่าเดิมเท่าใดนัก และเมื่อดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนแบบใหม่นั้นคือ การสอนแบบ Teach less ,Learn more  จากอาจารย์ อนิวุธ ชมสวัสดิ์ว่าการสอนแบบนี้ได้ใช้ในประเทศสิงคโปร์ และในปัจจุบันนี้ประเทศสิงคโปร์ได้มีการพัฒนาคุณภาพทางด้านการศึกษาไปได้ไกลมากมีคุณภาพที่ดี และนี่ก็คือเหตุผลที่สำคัญที่อนาคตครูไทยจำเป็นต้องศึกษาวิธีการสอนนี้เพิ่มเติม


       การสอนแบบ Teach less , Learn more มีที่มาของวิธีแนวคิด Teach less, Learn more ( TLLM )  เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ในภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาที่กล่าวว่า Thinking Schools, Learning Nation (TSLN) ซึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาเพื่อการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วน Learning Nation gเป็นวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์ที่น่ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง นอกจากนี้แนวคิด (TLLM)ยังมุ่งเน้นไปยังประสิทธิภาพ จึงเปลี่ยนการสอนการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณเป็นในเชิงคุณภาพ คือเพิ่มการศึกษาที่มีคุณภาพและลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณซึ่งการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพคือ การเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดของตนเอง
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตวิธีการสอนการที่ใช้มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียนรู้ ส่วนการลดการจัดการศึกษาในเชิงคือการลดบทบาทของครูจากครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำกระตุ้นให้เรียนสร้างความรู้ และการลดการเรียนรู้โดยการท่องจำ การสอบ และการสอบ และการหาคำตอบจากการแทนค่าในสูตรต่างๆ เพื่อฝึกการคิดอย่างมีระบบมาก จึงเห็นได้ว่าการสอบแบบ TLLM นั้นมีกระบวนการอย่างมีระบบมาก
     ในการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Thach less, Learn more   ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลง คือ Teach  more  นั้นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์กรความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนนั้นจะน้อยลงไป ต่อบทบาทที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องเพิ่มมากขึ้นคือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการสอน เตรียมสื่อและแหล่งข้อมูลแหล่งเรียนรู้และเตรียมคำถามที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันทั้งนี้ในการจัดการศึกษาการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach less, Learn more  (TLLM)  นั้นครูผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม 3คำถาม ได้แก่
1.ทำไมต้องสอน  2. สอนอะไร 3.สอนอย่างไร ซึ่งทั้ง3คำถามนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีระบบทางด้านความคิดได้อย่างดีมีคุณภาพต่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้
ครูผู้สอนสามารถคำนึงถึง 3คำถามในการจัดการการเรียนรู้
ตามแนวคิด Teach  Learn More  (TLLM) ได้ดังนี้
1.ผู้สอนควรตระหนักว่าในการจัดการการศึกษาแก่ผูเรียนนั้นควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้และมีกำลังใจการเรียนรู้
2.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวคิดที่สำคัญมากกว่าการท่องจำจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม
3.ผู้สอนควรสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสำหรับการทดสอบของชีวิตมากกว่าการมีชีวิตเพื่อการทดสอบ
4.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของเนื้อหาและเข้าใจการเชื่อมโยงของเนื้อหามากกว่าที่จะสอนแยกเป็นเรื่องๆไป
5.ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณ มีทัศนคติที่ดีและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงมากกว่าที่จะนำความรู้มาใช้ในการสอบเท่านั้น
6.ผู้สอนควรเน้นที่กระบวนการของการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าเน้นไปยังผลการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
7.ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการใช้คำถามกระตุ้นมากกว่าการให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น
8.ผู้สอนควรเป็นผู้ที่แนะนำสร้างบรรยากาศ และจัดสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตัวตนเองมากกว่าการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากกว่าการเรียนจากคำบอกของผู้สอน
9.ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนกระตืนรือร้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนองมากกว่าการที่ผู้เรียนเรียนรู้แบบฝึกหัดและท่องจำ
10.ในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนทั้งในด้านความสนใจและความพร้อมเพื่อจะได้เลือกวิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนมากกว่าการใช้วิธีสอนแบบเดียวกันกับผู้เรียนทั้งหมด
11.ผู้สอนควรใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายและเป็นการประเมินตามสภาพจริงในการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาการของผู้เรียน มากกว่าการประเมินผู้เรียนจากการสอนเท่านั้น และนี่คือแนวทางการจัดการศึกษาที่ผู้สอนจะต้องปฏิบัติเพื่อที่ผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพที่ดี
              สรุปว่า การสอนน้อยเรียนรู้มากเป็นแนวคิดที่ปรับเปลี่ยนวิธีเรียนของผู้เรียนและวิธีการสอนของครู โดยจะเน้นการจัดการศึกษาไปยังการจัดการคุณภาพและลดการจัดการศึกษาที่เน้นในเชิงปริมาณ ซึ่ง (TLLM)โดยจะฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจริงได้ มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันซึ่งครูออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างดี เช่น การเรียนรู้จากเน้นผู้เรียนเป็นลำดับสำคัญ การเรียนรู้แบบสืบค้น การคิดขึ้นสูง การเรียนรู้จากโครงงานหรือการทดลอง การสะท้อนความคิดเป็นต้น มีการฝึกทักษะกระบวนการคิดและฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักคิดวิเคราะห์ มีเหตุ มีผล มีกระบวนการแต่ละการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ครูเป็นเพียงผู้ชี้นำ และใช้คำถามให้เกิดการอภิปรายระหว่างผู้เรียนเท่านั้น

ที่มา: “การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach less, Learn More (TLLM) สู่การเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ Application of Teach less, Learn More to Learning Management  In Mathematics Classroom” ดร. เวชฤทธิ์ อังกนะภัทร วานสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่1 เดือนตุลาคม 2554 มกราคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น