วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการเดินประโยคสำหรับการแปล

Learning Log 4 (25/08/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน

                      สำหรับสิ่งที่เรียนรู้นอกชั้นเรียนนั่นจะเป็นการศึกษาค้นหาความรู้และเพิ่มความสามารถทักษะด้านการเขียน (writing) เนื่องจากงานแปลนวนิยายนั้นทำให้ดิฉันพบข้อบกพร่องของตนเองในการเรียนแปลนวนิยายของดิฉัน ฉันรู้คำศัพท์และสามารถเรียงประโยคให้สวยมีความไพเราะและเขียนแปลความนวนิยายให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายได้ ดังนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านการแปลนวนิยายได้อย่างเข้าใจ จึงทำให้ดิฉันอยากที่จะแปลนวนิยายออกมาให้ดี ดิฉันจึงคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านการแปลนวนิยายได้อย่างเข้าใจจึงทำให้ดิฉันแปลนวนิยายออกมาให้ดี ดิฉันจึงคิดว่ามีความจำเป็นต้องศึกษาการแปลภาษาอังกฤษเป็นเป็นภาษาไทย การแปลภาษาอังกฤษให้ถูกต้องและสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมากในการแปลภาษา คือ เทคนิคการเดินประโยคสำหรับการแปล (การแปลงอย่างเป็นระบบ) จะเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ประโยคว่าแต่ละประโยคมีส่วนประกอบ ประธาน ส่วนประธาน เพื่อทำให้การแปลเกิดความไพราะเพราะพริ้งและการแปลให้ไพเราะนั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์การแปลบ่อยๆ ด้วย และจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าหากเรามีความรู้วิธีเดินประโยคแล้วเราสามารถแปลเอกสารภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นสรุป ได้ว่าการแปลอย่างเป็นระบบจะต้องอาศัยเทคนิคการแปลหลายๆอย่างเพื่อทำให้ได้งานแปลที่ดีที่มีคุณภาพ
                  เทคนิคการแปลต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เริ่มเรียนการเปลี่ยนแปลจะต้องอาศัยขั้นตอนการแปลในส่วนแรกคือ การหาส่วนประธานและแปลส่วนประกอบ เราจะแปลหรือเขียนแปลได้ดีจะต้องมีความรู้เรื่องโครงสร้างไวยากรณ์เป็นอย่างดี ไวยากรณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และแยกแยะประโยคได้ เมื่อสามารถแยกแยะและวิเคราะห์ประโยคได้ก็จะสามารถร็ได้ว่าประโยคไหนควรแปลก่อน แปลหลัง และแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน จะทำให้แปลสละสลวย และส่วนประธานอาจเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นได้ ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นได้ ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวก็หมายความว่าคำศัพท์ คำนั้นเป็นทั้งส่วนประธาน และตัวประธานในตัวเดียวกัน ในกรณีนี้ให้แปลประธานได้ทันที แต่ถ้าส่วนประธานประกอบด้วยคำศัพท์หลายคำศัพท์ผู้เรียนต้องกำหนด 1) ตัวประธานและ 2)ส่วนขยายประธานเพื่อหาตัวประธานได้แล้ว ค่อยลงมือแปลตามลำดับของคำ โดยสรุปว่าควรเริ่มแปลจากตัวประธานและส่วนขยาย แต่บางครั้งการแปลแบบนี้อาจจะทำให้งานแปลออกมาแบบทื่อๆ ตรงไปตรงมา ซึ่งมีผลให้การแปลไม่น่าอ่าน


          เทคนิคการหาตัวประธานนั้นถึงแม้ว่าส่วนประธานจะมีหลายตัวหลายคำศัพท์แต่ตัวประธานซึ่งอยู่ในส่วนประธานต้องมีเพียงคำเดียวในส่วน ส่วนประธาน การวิเคราะห์ตัวประธาน เราต้องบอกได้ด้วยว่าประธาน
1.)เป็นคนหรือว่าสิ่งของ 2.) เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ที่สำคัญคือตัวประธานมักจะถูกแปลเป็นอันดับแรก ตัวประธานสามารถวางไว้ได้หลายตำแหน่งดังต่อไปนี้ 1.ส่วนประธานและตัวประธานเป็นคำถามหรือคำสรรพนามเพียงคำเดียว หมายความว่าส่วนประกอบและตัวประธานเป็นคำๆเดียวกัน หมายความว่าส่วนประกอบและตัวประธานเป็นคำๆเดียวกันการแปลประธานตัวเดียวถือว่าง่ายเพราะไม่มีตัวขยายมาเกี่ยวข้อง 2.ส่วนประธานที่มีมากกว่าหนึ่งคำและตัวประธานวางอยู่ท้ายสุดของส่วนประธาน 3.ใช้วลีเป็นประธานและประธานอยู่หน้าคำคุณศัพท์ 4.ใช้วลีเป็นประธานและตัวประธานอยู่หน้า  Veb3 และ Verbing ซึ่งจะเป็นการลดรูปมาจาก adjective clase  5. ตัวประธานและส่วนประธานมีวลีนำหน้า 6.ใช้ประโยคNoun clase  เป็นประธาน ซึ่งหากเรารู้ถึงการวางของตำแหน่งประโยคได้ถูกต้องแล้วเราก็จะสามารถนำความรู้ส่วนนี้มาใช้กับการแปลได้อย่างดี
         เทคนิคต่อไปนี้คือการกำหนดส่วนกิริยา หมายความว่า เมื่อแปลส่วนประธานหรือส่วนวลีที่อยู่หน้าส่วนประธานเสร็จแล้ว จากนั้นก็ขยับไปแปลส่วนกริยา ก่อนจะแปลส่วนกริยาเราจะต้องกำหนดส่วนกริยาก่อนว่ามีกี่ตัว เป็นกริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์เป็นกริยาที่ประธานทำเอง (Active voice ) หรือกริยาที่ประธานถูกกระทำ (passive voice) และการกำหนดส่วนกริยาจะต้องอาศัยตัวประธานเป็นตัวกำหนดและเทคนิคต่อไปคือ การกำหนดแปลส่วนที่อยู่หลังส่วนกริยา ซึ่งการแปลส่วนที่อยู่หลังกริยาก็จะมีวิธีแปลและวิธีกำหนดคล้ายๆกับส่วนประธานคือจะเป็นเรื่องคำนามและคำขยายเช่นกัน แม้จะมีประโยคแทรกบ้างก็ตาม ส่วนที่อยู่หลังกริยาจะเน้นไปยังเรื่องของลักษณะคำเป็นหลักและเทคนิคที่สำคัญต่อไปคือ การกำหนดประโยคแทรกและการเปลี่ยนประโยคแทรกประโยคแทรกที่ทำหน้าที่ขยายความซึ่งแทรกอยู่ในประโยคหลัก
       เทคนิคการแปลจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการแปลเนื่องจากการแปลที่ปราศจากวิธีการเดินประโยคที่ดีนั้นจะทำให้งานแปลที่แปลออกมานั้นไม่มีคุณภาพไม่มีคำไพเราะ ไม่สามารถที่จะอ่านแล้วเกิดความเข้าใจเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องได้ถึงแม้ว่าการแปลนั้นจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือแปลตรงตามเนื้อหาทุกประเด็นก็ตาม ดังนั้นเทคนิคการแปลเกี่ยวกับวิธีการเดินประโยคโดยวิธีการแปลมีการเดินประโยคนั้นสรุปได้ 6ขั้นตอนดังนี้คือ
1.การกำหนดหาส่วนประธานเพื่อหาประธานของประโยค 2.การรู้หน้าที่ของประธานในประโยคว่าเป็นคนสัตว์สิ่งของ 3.การหาส่วนกริยาซึ่งการหาส่วนนี้จะเป็นการหาเพื่อดูว่าประโยคนี้มีกริยากี่ตัวกริยาตัวใดเป็นเอกพจน์ พหูพจน์และทำหน้าที่ขยายอะไร 4.การแปลส่วนที่อยู่หลังกริยาเพื่อดูว่าคำอะไรเป็นตัวขยาย 5.การกำหนดประโยคแทรกซึ่งลักษณะนี้จะอยู่ในรูปของประโยคซ้อน ดังนั้นขั้นตอนทั้งหมดเกี่ยวกับวิธีการเดินของประโยคจะช่วยให้ดิฉันสามารถแปลนวนิยายได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถช่วยให้งานแปลที่ออกมามีคุณภาพ สามารถอ่านแล้วเกิดความเข้าใจได้ง่ายและอ่านแล้วมีความไพเราะสนุกสนานกับงานแปลชิ้นนั้น

ที่มา : นเรศ สุขสิทธิ์ . (2549) . เรียนแปลภาษาอังกฤษ.สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย : กรุงเทพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น