วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (1/02/59)
                                การถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เนื่องจากงานแปลแต่ละชิ้นงานนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงแบบเดียวกันทั้งหมดเพราะว่างานแปลชิ้นนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นการถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะเข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมทั้งได้รับประโยชน์จากงานแปลชิ้นนั้นอีกด้วย
                                หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงเป็นการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสีย งใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo นอกจากจะคำนึงถึงการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียงแล้วยังต้องคำนึงถึงความหมายของคำ การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้ตัวอักษรดรมันตัวใหญ่ การถอดเครื่องหมายต่างๆ การถอดคำย่อ และสุดท้ายคือการถอดตัวเลข ซึ่งแต่ละลักษณะการถ่ายทอดตัวอักษรแต่ละแบบจะไม่เหมือนกัน
                                สำหรับความหมายของคำจะกล่าวถึงไปยังหน่วยคำ คำ คำประสม คำสามานยนาม คำวิสามานยนาม คำนำหน้านาม คำทับศัพท์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องคำนึงถึงความหมายของคำ ต่อมาจะเป็นการใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ คือ ในกรณีที่มีคำวึ่งมีหลายพยางค์ อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้ากับอักษรตัวแรกของพยางค์ตามมา อาจจะทำให้อ่านยาก หรืออ่านผิดได้ ให้ใช่เครื่องหมาย “-” เป็นตัวแยก โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ข้อแรกคือ เมื่ออักษรตัวสุดท้ายขิงพยางค์หน้าเป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng () เช่น สง่า = Sa-nga ข้อที่สองคือเมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng () และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร =Bang-on ข้อสุดท้ายกล่าวคือ เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด =sa-at
                                ต่อมาจะเป็นการกล่าวถึงการแยกคำซึ่งสามารถแยกได้ในกรณีชื่อเรียกเฉพาะ ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนติดกัน การใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่จะใช้ในกรณีดังต่อไปนี้ ตัวอักษรแรกของชื่อและคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนาม รวมทั้งในกรณีขึ้นต้นย่อหน้าอีกด้วย ต่อมาคือการถอดชื่อภูมิสาสตร์ให้ถอดตามเกณฑ์การถ่ายอักษรแบบเสียงโดยทับศัพท์เลย เช่นเดียวกับคำทับศัพท์  สำหรับการถอดเครื่องหมายต่างๆ ให้ถอดตามหลักการอ่านภาษาไทยได้เลย หากเป็น ไปยาลน้อย และไปยาลใหญ่ ให้ใช้ชื่อเต็มในการถอดแบบอักษร ต่อมาคือการถอดคำย่อให้ถอดตามหลักการอ่านแบบเต็มตามการอ่าน สำหรับคำย่อที่ยาวสามารถถอดแบบย่อและแบบเต็มได้ขึ้นอยู่กับผู้แปล แลการถอดตัวเลขก็จะถอดตามเสียงที่อ่านเช่นกัน
                                ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงมีความจำเป็นอย่างมากต่องานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น