วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

learning log 8 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

Learning Log 8
(6/10/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
               
                การแปลงานงานแปลภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาไทยนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับ ไวยากรณ์ (Grammar) ซึ่งสำหรับวิชาภาษอังกฤษนั้นไวยากรณ์ได้เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งไวยากรณ์นั้นจะมีประโยชน์ต่อการแปรภาษาอังกฤษ เพราะเป็นการเชื่อมโยงไวยากรณ์สู่การแปลภาษาอย่างมีหลักการ มีภาษที่สละสลวย และภาษที่ชัดเจนเข้าใจความหมายได้ง่ายและถูกต้อง ดังนั้นในส่วนต่อไปนี้เราจะกล่าวถึง Noun clause เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับลักษณะของ noun clause และมีกี่แบบ โดยทั่วไปของนามานุประโยคในภาษาอังกฤษ เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับนามานุประโยค (noun clause) มาเชื่อมโยงไปสู่การแปลภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ควนแปลให้น่าอ่าน และเมื่อแปลออกมาแล้วจะได้ภาษาสละสลวยและผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเกิดความประทับใจในการอ่านงานแปลชิ้นนี้อย่างมีความสุขและประทับใจ


                นามานุประโยค (noun clause) หมายความว่า ประโยคเหมือนคำนามคือ ทำหน้าที่เหมือนคำนาม โดย noun clause จะแตกต่างจากนามคือ นามจะเป็นคำเดียว แต่ noun clause นั้นจะเป็นประโยคย่อยซึ่งเป็นนามที่ไม่สมบูรณ์จะประกอบด้วย ประธาน Subject + กริยา Verb ซึ่งการสร้างประโยค noun clause จะมีด้วยกัน 3 วิธี มีดังนี้ 1. Wh – Question 2. Yes/No Question 3. การสร้างโดยใช้ That ซึ่ง noun clause นั้นจะทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน (subject) และ กรรม (object) และประโยคที่ตามหลังตัวเชื่อมนั้น noun clause จะต้องเป็นประโยคบอกเล่าเท่านั้น แม้ว่า noun clause นั้นจะถูกแปลงเปลี่ยนมาจากประโยคปฏิเสธหรือประโยคคำถามก็ตาม
                การสร้างประโยค noun clause จะมีด้วยกัน 3 วิธี มีดังนี้ อันดับแรกคือ การสร้างประโยคโดย Wh – Question โดยมีคำเชื่อมต่อไปนี้ What, Where, When, Why and How ยกตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้ When I am married to is uncertain. มีความหมายว่า เมื่อไหร่ฉันจะแต่งงานคือความไม่แน่นอน  ประโยคต่อมาคือ I don’t understand why I fail translation. มีความหมายว่า ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมฉันถึงตกวิชาการแปล  ประโยคต่อมาคือ How I travel to Bangkok is clear มีความหมายว่า ฉันจะเดินทางไปกรุงเทพยังไม่ชัดเจน ต่อมาจะการแปล คำว่า What (จะแปลว่าสิ่งซึ่ง) ดูได้จากประโยค What I love most is my mom. แปลความหมายได้ว่า สิ่งซึ่งฉันรักมากที่สุดคือแม่ของฉัน ดังนั้น จึงสรุปโครงสร้างประโยค noun clause โดยใช้ Wh – Question ได้ว่า Wh – Question + S + V
                ต่อไปนี้จะเป็นการสร้างประโยค noun clause โดยใช้ Yes, No Question โดยใช้ If และ Whether ยกตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้ I wonder if she is a student. มีความหมายได้ว่า ฉันสงสัยว่าหล่อนเป็นนักเรียนหรือเปล่า โดย noun clause หลัง If นี้จะทำหน้าที่เป็น กรรมของประโยค  ประโยคต่อมาคือ If she is a student is not clear. โย noun clause หลัง If นี้จะทำหน้าที่เป็น ประธานของประโยค โดยมีความหมายว่า การที่หล่อนเป็นนักเรียนนั้นยังไม่ชัดเจน  ประโยคต่อมาคือ If he passed an exam is not sure. โดย noun clause หลัง If นั้นจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ซึ่งมีความหมายว่า เธอสอบผ่านการสอบกลางภาคยังไม่แน่ใจ  ประโยคต่อมาคือ I don’t know if he passed an exam โดย noun clause หลัง If นี้จะทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค มีความหมายว่า ฉันไม่รู้ว่าเขาสอบผ่านการสอบกลางภาครึเปล่า โดยสามารถสรุปโครงสร้างประโยค noun clause โดยใช้ If และ Whether เป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยค โดยโครงสร้างประโยคมีดังต่อไปนี้ If/Whether + Subject +Verb  
                ต่อไปนี้จะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างประโยค noun clause โดยใช้คำว่า That โดยคำว่า That นั้นเมื่ออยู่หน้าประโยคนั้นจะแปลว่า “ที่ว่า” ยกตัวอย่างประโยคเช่น That I am smart is not true. แปลประโยคนี้ได้ว่า ที่ว่าฉันเก่งมันไม่จริงน่ะ  อีกประโยคหนึ่งคำว่า I think that I am smart. กลัง that จะเป็น noun clause ที่ทำหน้าที่เป็นกรรม ประโยค ซึ่งมีความหมายว่า ฉันคิดว่าฉันเท่  ดังนั้นจึงสามารถสรุปประโยค noun clause ที่ใช้ That ได้ว่า That นั้นสามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยค noun clause ที่ใช้ That ได้ว่า That + Subject + Verb.

                สำหรับ noun clause สามารถสรุปใจความสำคัญของประเด็นความรู้ได้ว่า noun clause (นามานุประโยค) จะมีหน้าที่เหมือนคำนามโดย noun clause จะแตกต่างจากนามคือ นามจะเป็นนามคำเดียว แต่ noun clause นั้นจะเป็นประโยคย่อย ซึ่งจะเป็นนามที่ไม่สมบูรณ์จะประกอบด้วยประธาน subject + กริยา verb ซึ่งวิธีการสร้างประโยค noun clause จะด้วยกัน 3 วิธี มีดังนี้ 1. Wh-Question โดยมีคำเชื่อมต่อไปนี้ What, When, How, Who, 2. Yes/No Question โดยมีคำเชื่อมต่อไปนี้ If และ Whether 3. การสร้างโดยใช้ That ซึ่ง noun clause นั้นจะทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน (subject) และกรรม (object)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น