วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21

Learning Log 15
( 30 / 10 / 58 เวลา 09.00 12.00 )
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

                สำหรับศตวรรษที่  21 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปหลายด้าน  เช่น  ด้านการศึกษา  ด้านการสื่อสาร  ด้านการแพทย์   ด้านวิทยาศาสตร์  และด้านอื่นๆ  อีกมากมาย  ซึ่งด้านที่มีความจำเป็นต่อครูนั่นคือด้านการศึกษา  ซึ่งจะมุ่งประเด็นสำคัญไปที่วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21 ซึ่งเป็นศตวรรษที่มีความเจริญก้าวหน้าทุกๆด้าน  ซึ่งจะให้ความรู้โดย  ผศ. ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร  ในหัวข้อวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21  โดยในหัวข้อจะมีประเด็นที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้  การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต  การเรียนการสอนในศตวรรษที่  21  กลวิธีการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน  ซึ่งแนวการสอนจะแบ่งได้  4  ขั้นตอนดังนี้  คือ  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์   แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่แบบบรูณาการเนื้อหาและภาษา


                วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21  จะมีแนวการสอนซึ่งสามารถแยกประเภทได้และสามารถแยกประเภทรูปแบบได้ดังนี้  ซึ่งประเภทแรกคือแนวทานการสอน  ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้  ประเภท  คือ  วิธีสอนแบบไวยกรณ์และแปล  วิธีการสอนแบบตรง  วิธีการสอนแบบฟัง-พูด  ประเภทที่  2 คือ  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์     ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้  7 ประเภทคือ  วิธีการสอนแบบเงียบ  วิธีการสอนแบบธรรมชาติ  วิธีการสอนแบบชักชวน  วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง  การเรียนรู้แบบร่วมมือ  การเรียนรู้แบบภาระงาน  การเรียนรู้จากโครงงาน  ประเภทที่  คือ  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา  สามารถแบ่งย่อยได้ ประเภท  คือ  แนวการสอนเพื่อการสื่อสาร  แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์  ประเภทที่    คือ  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่แบบบรูณาการเนื้อหาและภาษา  ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้  2  ประเภท  การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
                วิธีการสอนแบบไวยกรณ์และแปล  ( The  Grammar – Translation Method )  จะเป็นการไม่เน้นการฟังและการพูด  แต่เน้นการเรียนไวยกรณ์และการแปลเพื่อให้ผ็เรียนสามารถอ่านตำราและวรรณคดีภาษากรีกและภาษาละตินได้  และมีวิธีการสอนแบบนี้ในการสอภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของคำประพันธ์ภาษาต่างปะเทศ  เน้นการท่องจำ  และความถูกต้องในการใช้ภาษา
                วิธีการสอนแบบตรง  ( The  direct  method )  วิธีสอนแบบตรงมีแนวคิดทางภาษา  คือ  ภาษาพูด  ซึ่งการเรียนภาษา  ซึ่งการให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียนนั้น  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น  ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการที่จะคิดเป็นภาษาที่เรียนด้วย  ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาจึงควรใช้ภาษาต่างประเทศที่เรียนนั้นตลอดเวลา  และสื่อสารราวกับอยู่ในสถานการณ์จริง  มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้  เริ่มการสอนแบบระบบเสียงให้ผู้เรียนฝึกเลียนแบบเสียงและแยกเสียงให้ถูกต้อง  แล้วจึงให้ผู้เรียนฝึกฟังความหมายในประโยค  เช่น  ประโยคคำถาม – คำตอบบทสนทนาสั้นๆ
                วิธีการสอนแบบฟัง พูด  ( The  audio - lingual method )  เริ่มจาการฟัง-พูด  ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนและการเขียน  ดังนั้นภาษาที่นำมาให้ผู้เรียนเรียน  ควรเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน จึงมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษาด้วย  เริ่มต้นด้วยภาษาพูด  โดยยังไม่ให้ผู้เรียนเห็นรูปแบบของภาษา  ผู้เรียนจะต้องเลียนแบบเสียงของผู้สอน  จนสามารถฟังเข้าใจ  เน้นการท่องจำบทสนทนา   แล้วจึงเริ่มจากฝึกอ่านและเขียน
                วิธีการสอนแบบเงียบ  ( The  Silent  way )  วิธีการสอนนี้มีหลักการที่เน้นความรู้ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ให้ผู้เรียนคิดเอง  ผู้สอนจะพูดน้อยที่สุดและเปิดประตูโอกาสให้ผู้เรียนได้พูด  การแก้ไขปัญหาเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้  ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม  เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดความเข้าใจที่ค้นพบกฎเกณฑ์ทางภาษาด้วยตนเองและจากเพื่อนๆ
                การเรียนรู้แบบภาระงาน  ( Tash Based  Learning ) การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน  เป็นการเรียนเรสอนที่ใช้ภาระงาน ( tasks)  เป็นหลัก  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน  โดยภาระงานที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนต้องเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฏิบัติภาระงานนั้นให้สำเร็จ  ต้องวิเคราะห์  จัดประเภท  จัดลำดับ  และพิจารณาความยากง่ายเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นภาระงานที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมาย  และตรงกับความต้องการของผู้เรียน
                การเรียนรู้แบบภาระงาน  ( Project Based  Learning )  โครงงาน  คือ งานศึกษาค้นคว้าที่ผู้เรียนทำร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ที่ผู้เรียนต้องการศึกษาแล้วดำเนินการศึกษาค้นคว้าภายในเวลาที่ตกลงกันไว้จนได้ผลตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โครงงานเป็นวิธีการสอนให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  การทำโครงงาต้องเริ่มต้นจากผู้เรียน  เป็นผู้คิด  ลงมือปฏิบัติ  หาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีผู้สอนคอยแนะนำช่วยเหลือ  กระตุ้น  เช่น  การจัดนิทรรศการ
                แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์  แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์  จะมีลักษณะคล้ายๆ กับ  Role  play   จะเน้นที่ตัวผู้เรียน  ผู้สอนหรือผู้เรียนเลือกสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะต้องประสบในการใช้ภาษา  แล้วจังเอาภาษาที่ใช้ในสถานการณ์นั้นมาจัดการสอน  ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนและของบทเรียน  เช่น ผู้เรียนที่เรียนภาษาเพื่อจุดประสงค์ของการท่องเที่ยวก็จะเรียนภาษาในสถานการณ์ที่จะพบเห็นในการท่องเที่ยว  เช่น   At the , Buying  a ticket  Booking  a  hotel.
                แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร  ( The  communicative  approach )  หรือ   Communicative  language  teaching  เป็นการจัดการเรียนการสอนคามทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน  จัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนดามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน  โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด  การอ่านจับใจความสำคัญ  ทำความเข้าใจ  จดจำ  แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปมากกว่าการจดจำ
                วิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ  ( The  Natural  approach )  โดยมีการพัฒนาการสอนตามแนวธรรมชาติ  เป็นการเรียนรู้การรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก  ซึ่งเป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน  พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยกรณ์โดยวิธีการตรวจแก้ไขไปเรื่อยๆ  และระยะยาวของผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ตามหลักไวยกรณ์  โดยเชื่อว่าความเข้าใจข้อความมาก่อนการพูดการสนทนา  และไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้านทักษะการพูด
                วิธีการสอนแบบชักชวนเป็นวิธีการสอนที่นักจิตวิทยาการศึกษาชาวบัลการเรียชื่อ  ( George  Lozanow )  วิธีสอนแบบชักชวนอิงแนวคิดที่ว่าสมองของมนุษย์เต็มไปด้วยพลัง  แต่ถูกนำมาใช้เพียงเล็กน้อย  ผู้สอนจึงควรโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนอย่างเต็มที่โดยขจัดความกลัว  ความวิตกกังวล  และข้อห้ามต่างๆ  ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษา  ควรให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยความสนุกสนานผ่อนคลายทางจิต  กิจกรรมทางภาษาที่เน้นการสื่อสาร  เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในการใช้ภาษา  เช่น  การแสดงละคร , การฟังบทสนทนามีดนตรีเบาๆ  ประกอบ
                วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง  วิธีการนี้ได้แนวคิดจากงานวิจัยด้านจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้  โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีของการจำในเชิงจิตวิทยา  มีความเชื่อว่าถ้าบุคคลใดได้รับการฝึกฝนบ่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง  ก็จะเกิดการเก็บสะสมประสบการณ์ต่างๆ  และสามารถระลึกและถ่ายทอดออกมาได้  การจำเกิดจากการฝึกท่องจำหรือแสดงท่าทาง  มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟัง  ในช่วงต้นของการเรียนรู้โดยการแสดงท่าทางใช้คำสั่งเป็นหลักในการสอน
                การเรียนรู้แบบร่วมมือ  ( Cooperative  Leaning )  การจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ  ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะประชาธิปไตย  เช่น  การคัด  การพูดคุย  กิจกรรมโต๊ะกลม,คู่ตรวจสอบการสอนภาษาว่าควรนำเสนอภาษาใหม่ในรูปแบบภาที่พบในสถานการณ์จริง  เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์  ไวยกรณ์  การอออกเสียงมีการฝึกฝนจนเกิดความเข้าใจเนื้อหาไวยกรณ์  สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง  แล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปฝึกในสถานการณ์จริง
                การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้  การภาษาที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆ  มาบูรณาการกับจุดหมายของการอสนภาษา  กล่าวคือผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย  ดังนั้นการคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะเนื้อหาที่คัดเลือมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณการการสอนภาษาทั้ง  ภาษาทักษะ  คือ  การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์  สามารถตีความประมวลข้อมูลของเรื่อง  และพัฒนาการเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ  ได้  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาในลักษณะองค์รวม

                การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  กลวิธีการเรียนรู้ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถาม  และกระบวนการแก้ปัญหา  เป็นตัวนำกระบวนการแสวงหาความรู้และทักษะโดยไม่ยึดติดโครงสร้างของสาขาวิชาต่างๆ  ทางด้านวิชาการ  เพื่อเป็นประโยชนน์ในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน  การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากวิชาและประสบการณ์ต่างๆ  เข้ามาผสมผสานเป็นการส่งเสริมให้มีการขยายโลกทัศน์และวิสันทัศน์ให้กว้างขึ้น  นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  จนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายมากขึ้น

1 ความคิดเห็น: