วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

               โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า  ( Structure ) มีความหมายหลายความหมาย ซึ่ง สามารถสรุปความหมายได้ว่า ภาษาที่มีโครงสร้าง หรือ ภาษาประกอบด้วยส่วนต่างๆมากมาย และส่วนประกอบเหล่านี้จะเรียงตัวกันอย่างเป็นระบบ
               โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย เราสามารถพูดประโยคที่มีใจความสำคัญและสื่อสารกันรู้เรื่อง เพราะเรารู้และได้เข้าใจมีโครงสร้างของภาษานั้นจะเป็นตัวที่บอกเราว่าจะนำคำศัพท์นี้มาเรียนรู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรเพื่อที่จะทำให้เราพูดแล้วเข้าใจความหมายที่เราพูดในการใช้ภาษาใดก็ตามถ้าเราไม่รู้เราไม่เข้าใจในโครงสร้างของภาษาในการสื่อสารนั้นก็คือ การสื่อสารที่ล้มเหลว คือ การฟัง หรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
                จะเห็นได้ว่าผู้แปลจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคได้โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นประเภทของไวยากรณ์ที่สำคัญและโครงสร้างของประโยคต่างๆในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการไปในอนาคตได้

อ่านเพิ่มเติม

1.              ชนิดของคำและประเภทไวยากรณ์

                 ชนิดของคำ parts of speech เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้างของเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำเรียงร้อยให้เกิดความหมายที่ต้องการศึกษาประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
               ประเภททางไวยากรณ์ Grammatical category  หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำเช่น บุรุษ person , พจน์ number, ลิงค์gender,การก case,กาล tense, วาจก voice ประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่งแต่อาจไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้เช่น พจน์ เป็นสิ่งสำคัญมากในภาษาอังกฤษพูดภาษาอังกฤษต้องคำนึงถึงก่อนเสมอเมื่อจะใช้คำนามนับได้ต้องคำนึงว่าของที่จะกล่าวถึงอยากมีจำนวนเท่าไหร่เป็นเอกพจน์เป็นพหูพจน์แล้วจึงจะสามารถเลือกรูปคํานามไม่ตรงกับความจริงที่ต้องการกล่าวได้

               1.1       คำนาม

        เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษพบว่าประเภททางไวยากรณ์เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ marker ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทยเช่น บุรุษ ( personx ) , พจน์ ( number ), การก (case ), ความชี้เฉพาะ ( definiteness ), การนับได้ ( countability )
1.1.1.      บุรุษ( person ) บุรุษเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด = บุรุษที่ 1 ผู้ที่ถูกพูดด้วย = บุรุษที่ 2 หรือผู้ที่ถูกพูดถึง = บุรุษที่ 3
ภาษาอังกฤษ แยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 อย่างเด่นชัด ,ภาษาอังกฤษยังมีการเติม ที่กริยาของประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์บุรุษอื่นไม่มีการเติม
 ภาษาไทย ไม่แยกเด่นชัดเพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษสำหรับภาษาไทยนั้นไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
1.1.2 พจน์ ( number ) พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียง 1 หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
 ภาษาอังกฤษมีการแบ่งพจน์โดยใช้ตัวกำหนด a/an
 ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1. 3 การก (case ) เป็นตัวบ่งชี้คำนามนั้นๆว่ามีบทบาทอะไร
 ภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงด้วยการเรียงคำ
 ภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำ แต่มีการเรียงคำที่ต่างจากภาษาอังกฤษ
1.1. 4  ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
 ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องหัดแยกแยะตั้งแต่เริ่มพูด
 ผู้พูดภาษาไทยไม่มีการแยกความแตกต่าง
1.1. 5 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
        คำนามในภาษาอังกฤษที่ต่างจากภาษาไทยคือ การแบ่งเป็น นามนับได้และนับไม่ได้
 ภาษาอังกฤษแยกความแตกต่างระหว่างคำนามได้
 ภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้

               1.2      คำกริยา 


            เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าการใช้คำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1   กาล( tense )
 ภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ ทั้งอดีตและปัจจุปัน
 ภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
1.2.2      การณ์ลักษณะ(aspect) คือลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
           ภาษาอังกฤษ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น
            ภาษาไทยจะมีคำว่า กำลัง อยู่ แล้ว ในการแสดงการณ์ลักษณะนี้
1.2.3      มาลา(mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
ภาษาอังกฤษมีมาลา
ภาษาไทยไม่มีมาลา
1.2.4      วาจก(voice) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
ภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
ภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite)
ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
 ภาษาไทย กริยาทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน

              1.3      ชนิดของคำประเภทอื่น

ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
 ภาษาอังกฤษคำบุพบทสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้
 ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้

2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


2.1 หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด (Determiner) + นาม (อังกฤษ) Vs. นาม (ไทย)
                - นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ
                - นามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดแบบภาษาอังกฤษแต่มีตัวบ่งชี้
2.2 หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ) Vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย (ไทย)
                - ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
                - ภาษาไทยวางส่วยขยายไว้หลังส่วนหลัก
 2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
                - ภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเดียวที่เด่นชัด
                - ภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก เช่นสนใจ ตื่นเต้น ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
 2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น subject(อังกฤษ) กับ ประโยคเน้น topic (ไทย)
 2.5หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb constructon) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล

3 .สรุป


3.1 เรื่องชนิดของคำ
(ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด(determiner)นาม(noun)กริยา(verb)คุณศัพท์วิเศษ(adverb)บุพบท(preposition)และสันธาน(conjunction)ไม่มีลักษณะนาม(classifier)และคำลงท้าย(final particle)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษยกเว้นคุณศัพท์และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก่ลักษณะนามและคำลงท้าย
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษพจน์ การก นับได้นับไม่ได้ ชี้เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน 
คำกิริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้การมาลาวาจกกิริยาแท้ไม่แท้แปลภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจนในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษผู้แปลจึงควรสำเหนียกความแตกต่างในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                  นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้         การวางส่วนขยายในนามวลีมีความแตกต่าง อย่างตรงข้ามกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแปลในภาษาไทยมีหลายรูปแบบและไม่จำเป็นที่จะต้องแปลงหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป
                   ประโยคนี้ประธานกับประโยคนี้เป็นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ
แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธานและประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง
                  หน่วยสร้างกิริยาเรียง--มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ

ข้อสรุปสุดท้าย คือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้นผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลงและผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น