วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้าขึ้น คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการสื่อสารกัน การแปลจึงมีความสำคัญมาก เพราะบางคนอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อโดยใช้ภาษาต่างประเทศแต่ตนเองนั้นมีความรู้ด้านนี้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล นอกจากนี้ยังมีการแปลที่สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองอีกด้วย เช่น การแปลนวนิยายและสารคดีบันเทิงต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

การแปลในประเทศไทย

                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชส่งโกสาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้มีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ดังนั้น การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามา รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานานชาติ ทำให้เกิดสันติภาพโลก งานแปลของไทยก็เช่นเดียวกัน จากการที่บริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทสมีผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน  ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศ ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลที่อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนการแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นผู้แปลจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการแปลได้อย่างถูกต้อง

ความหมายของการแปล

                คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่งใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งยังควรรักษาให้อยู่ในรูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้ การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่ง คือในส่วนที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์นั้นที่จะประดิษฐ์งานแปลไปให้มีคุณภาพนั้น ถือเป็นงานศิลป์ ไม่อาจสอนได้

บทบาทของการแปล


           จะเห็นได้ว่า ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารกระบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเดือนพิเศษ เพราะในการสื่อสารที่ผู้รับเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงๆคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง เข้าใจข้อความผิดพลาดได้ยิ่งการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีผู้แปลมากขั้นกลางในการสื่อสารเป็นผู้หนึ่งก็จะทำให้ยิ่งมีการผิดพลาดเพิ่มมากขึ้นและเข้าใจไม่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นได้ ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา ความรู้ อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณี

คุณสมบัติของผู้แปล

เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีกระบวนการที่กระทำต่อภาษาผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1 เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2 สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3 เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4 เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5 ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักการอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย เพราะสิ่งที่สำคัญของการแปลคือการถ่ายทอดความคิดเป็นนามธรรมออกมาโดยใช้ภาษาซึ่งเป็นรูปประธรรม เนื่องจากความคิดเป็นเรื่องซับซ้อน ลึกซึ้งการทำความเข้าใจเป็นเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาและความรอบรู้ของแต่ละคน
6  ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและความจำเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้น และการตรวจแก้ไข จึงจะเกิดทักษะ
 จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
   จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือสอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
ได้ว่าผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษามีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดีมีความสามารถในการใช้ภาษา
2 รักการอ่าน ค้นคว้า
3 มีความอดทนมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4 มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง

นักแปลที่มีคุณภาพ

นักแปลที่มีคุณภาพ  หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกินโดยสรุปว่านักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้เป็นอย่างดีซึ่งควรจะฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาแม่ดังนั้นแปลไทยจึงให้ความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาไทย

ลักษณะของงานแปลที่ดี

ลักษณะงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกะทัดรัดความให้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งใช้ภาษาเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสมและรักษาแบบหรือมีสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคมเพื่อให้ผู้อ่านได้ไปเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล

1 เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ โดยหาข้อมูลด้วยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ นักแปลอาชีพในสาขาต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอย่างไร
2 การสอนการแปลให้ได้ผล ตามทฤษฎีวิชาการแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะสองทักษะคือทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจและสามารถจับใจความสำคัญได้ สามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ

3 ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการการอ่านข้อความของภาษาหนึ่งแล้วถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาหนึ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากเพราะผู้อ่านจะต้องมีความเข้าใจเนื้อเรื่องและภาษาอย่างดีเยี่ยมจึงจะสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างครบถ้วนถูกต้องผู้แปลจะต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกตและการค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ หรือผู้ใช้บริการการแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการไปดูงานการทำงานของนักเรียนในสำนักงาน
จะเห็นได้ว่าการสอนแปลจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย
สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงามจนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปลผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านจากต้นฉบับทีเดียว ดังนั้น ภาษาทั้งสอง คือ ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล ผู้แปลจะต้องรู้ดีและเข้าใจ

การเลือกบทแปล

                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เช่น แปลข่าว สารคดี บทความทางวิชาการ หรือ นวนิยาย เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนเองในการแปลได้ และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย เช่น บทแปล ที่ให้ความรู้ทางวิชาการโดยตรง

การแปลกับการตีความจากบริบท


                ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่การแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของข้อความเช่น it is possible to show a  pictures of dogs or a “ dove”เป็นที่น่าสังเกตว่ารูปภาพจะต้องมีความหมายของสิ่งของที่แตกต่างกันต่อคนที่แสดงกันความหมายจากรอบข้างหรือบริบทข้อความ (contaxt) เป็นรูปนามธรรม ซึ่งนักภาษาศาสตร์ประยุกต์ยอมรับกัน ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้ในกรณีของคำว่าโดยสามารถหาความหมายได้ตามหลักอรรถศาสตร์ ผู้แปลอาจนึกถึงนก เมื่อเห็นคำว่า Dove 
อ่านเพิ่มเติมที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น