วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักการเเปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม (8/02/2559)
                                งานแปลทางบันเทิงคดีนั้นมีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีหลักการแปลที่แตกต่างกันซึ่งจะปรากฏในหัวข้อที่ว่า หลักการแปลวรรณกรรม ซึ่ง คำว่า วรรณกรรม หมายถึงหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะชีวิตร้อยแก้วหรือร้อยกรองไม่ว่าจะเป็นผลงานกวีโบราณหรือปัจจุบันซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่าวรรณคดีด้วยตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท  บันเทิงคดี งานแปลทางบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่งานแปล นวนิยาย  เรื่องสั่น  นิทาน   นิยาย  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน ความรู้ ความสนุกสนาน ดังนั้นการแปลวรรณกรรมที่สำคัญนั้นคือ การรักษาความหมายให้คงเดิมพร้อมทั้งรักษารสความหมายเดิม
                                หลักการแปลนวนิยายจะมีหัวใจสำคัญคือการใช้ภาษาที่ไพเราะและถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับ โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม สำหรับการแปลชื่อเรื่องจะมีการแปลแบบไม่แปล แปลตรงตัว แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความหมายตามชื่อเรื่อง ซึ่งการแปลชื่อเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญต่อการแปลอย่างมากเนื่องจากการแปลชื่อเรื่องนั้นจะต้องเข้าใจง่ายเพื่อบอกคุณลักษณะของงานหรือเนื้อความของเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านสนใจและต้องการอ่านงานแปลชิ้นนั้น รวมทั้งติดตามผลงาน และสื่อความว่าผู้เขียนต้องการสื่อความว่าเช่นไรบ้าง
                                ต่อมาจะกล่าวถึงการแปลบทสนทนาและการแปลบทบรรยายนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกันนั้นคือระดับของภาษาจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแปลงานได้ ความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภทคือ ภาษาในสังคมและภาษาวรรณคดี สำหรับภาษาในสังคมนั้นแต่ละพื้นเมืองของสังคมจะมีการใช้ภาษาแตกต่างกัน ซึ่งหากภาษาในสังคมหนึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลกขบขันแต่อีกสังคมหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ดังนั้นผู้แปลจะต้องคำนึงถึงหลักการแปลภาษาในสังคมนี้ด้วย สำหรับภาษาวรรณคดี คือภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมจะเป็นภาษาที่มีความไพเราะ มีสำนวนที่สละสลวยเป็นภาษาที่ถูกต้องทั้งในด้านของความหมายและด้านไวยากรณ์
                                สำหรับขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อแรกคืออ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความเนื้อเรื่อง จับประเด็นของเรื่อง ทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่อง และพฤติกรรมที่มีความหมายมีความโยงใยต่อกัน ข้อสองคือ วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ ค้นหาความกระจ่างด้านวัฒนธรรม สำหรับข้อสุดท้ายของขั้นตอนในการแปลวรรณกรรมคือ ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
                                หลักการแปลบทละครวิธีแปลบทละครดำเนินการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้นนวนิยาย  นิทาน  นิยาย  คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั่งแต่ต้นจนจบก่อน หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม โดยจะต้องอ่านหลายๆครั้งเพื่อความเข้าใจในเนื้อหาอย่างคร่าวๆว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ดังคำว่าจะต้องทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด อ่านต่อไปเพื่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโดยใช้พจนานุกรมช่วยและหารความรู้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆบ้างเพื่อความหลายหลายของภาษาในงานงานแปลบทละคร ซึ่งการแปลบทละครนั้นจะต้องบอกทุกองค์ประกอบของละคร เช่น คำบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการปรากฏตัวของตัวละครเพื่อความสมบูรณ์ของบทละคร
                               
                                หลักการแปลบทภาพยนตร์นั้นจะมีขั้นตอนกระบวนการเช่นเดียวกับการแปลบทละคร และการ์ตูน ซึ่งต้องอ่านและแปลโดยที่ข้อความ ภาพและฉากพร้อมกันโดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน ซึ่งบทแปลภาพยนตร์นั้นมีวัตถุประสงค์หลักสำคัญอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ข้อแรกนั้นคือ นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดงพูดภาษาไทย ข้อที่สองนั้นคือ นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม ผู้ฟังจะได้ยินสียงเดิมของนักแสดงและได้เห็นคำแปลพร้อมกัน ซึ่งการแปลบทภาพยนตร์นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันกับการแปลบทละคร คือ ผู้แสดงมีจำนวนมาก มีบทสนทนาเยอะในบท ดังนั้นงานแปลจะออกมาดีได้นั้นจะต้องอาศัยความเข้าใจเนื้อความของบทภาพยนตร์
                                หลักการแปลนิทานและนิยาย ซึ่งนิทานและนิยายส่วนมากจะมาจากการเล่าเป็นเรื่องในเชิงบรรยายและพรรณนา ไม่ใช้วิธีซับซ้อน จึงเรียนได้ว่า วรรณกรรมวรรณนา โดยนิทานและนิยายจะมีเรื่องข้อคิดเพื่อสอนศีลธรรมจรรยาเสมอ ซึ่งจะมีหลักการแปลดังนี้ อ่านครั้งแรกอ่านอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถาม 5 ข้อ ได้แก่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา วิธีการเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละเรื่องและบิริบทของนิทาน
                                หลักการแปลเรื่องเล่าซึ่งเรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครสำคัญจำนวนน้อยราว 1-2 ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามความจำเป็น จะตัดตัวใดตัวหนึ่งออกไม่ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระชั้นแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้กระชับความ สำหรับหลักการแปลเรื่องเล่านั้นจะมีการดำเนินการแปลตามขั้นตอน เช่นเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆโดยมีหลักการแปลดังนี้อ่านครั้งแรกอ่านอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของเรื่องเล่าโดยแบ่งเป็น 4 ตอน โดยตอบคำถาม ดังนี้ ตอนที่หนึ่ง ใคร ตอนที่สอง ใคร ทำอะไร ตอนที่สาม ใคร ทำอะไร  ตอนที่สี่ ทำอะไร และจะต้องมีปมอารมณ์ขัน และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา วิธีการเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละเรื่องและบิริบทของประเภทของเรื่องเล่า
                                หลักการแปลการ์ตูน สำหรับวิธีการแปลการ์ตูนนั้นจะดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพด้วย ต่อมานั้นจะเป็นการลงมือเขียนบทแปลโดยใช้ถ้อยคำสั้นๆ ที่สามารถนำมาบรรจุลงในกรอบคำพูดได้อย่างลงตัวพอดี โดยจะมีขั้นตอนการแปลดังต่อไปนี้ คืออ่านอย่างเร็วแล้วตอบคำถามของภาพ ดังนี้ ภาพที่หนึ่ง ใคร ทำอะไร ภาพที่สอง ใคร ทำอะไร ภาพที่สาม ใคร ทำอะไร ภาพที่สี่ ใคร ทำอะไร เช่นเดียวกันทั้งกันสี่ภาพ และจะต้องอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าๆและค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย เพื่อค้นหาความหมายในพจนานุกรมและแหล่งข้อมูลความรู้อื่นๆ เพื่อช่วยในการค้นหาความหมายของคำและสามารถกล่าวได้ว่าควรเลือกใช้ระดับภาษาสำนวนภาษา
                                หลักการแปลกวีนิพนธ์สำหรับกวีนิพนธ์นั้นจะมีความหมายเพื่อเล่าเรื่อง ให้ความรู้และสอนศีลธรรมพร้อมทั้งให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย ซึ่งลักษณะของการแปลจะมี สองลักษณะ ลักษณะแรกคือ การแปลเป็นร้อยกรอง จะต้องแปลเนื้อหา พยายามเล่นคำ เล่นความหมายให้เหมือนกับต้นฉบับมากที่สุด ทุกบททุกตอน พร้อมทั้งจะต้องยึดรูปแบบของฉันทลักษณ์ด้วย หรือถ้าไม่สามารถยึดได้เพราะเกิดจากความแตกต่างของภาษา ก็จะต้องพยายามยึดฉันทลักษณ์ให้ใกล้เคียงมากที่สุด และอีกลักษณะของการแปลนั้นคือการแปลเป็นร้อยแก้ว เราจะแปลเป็นร้อยแก้วก็ต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในบทกวีนิพนธ์ ซึ่งปัญหาของการแปลด้านนี้คือความเข้าใจและการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวน ดังนั้นผู้แปลจะต้องเข้าใจและมุ่งเน้นความรู้สึกของกวีนิพนธ์ได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับระดับของภาษาและสั้นกะทัดรัดให้ตรงตามรูปแบบของฉันทลักษณ์

                สุดท้ายนี้สามารถสรุปได้ว่า งานแปลวรรณกรรมนั้นมีถึง 9 ประเภทด้วยกันได้แก่ หลักการแปลนวนิยาย หลักการแปลบทบรรยาย หลักการแปลวรรณกรรม หลักการแปลบทละคร หลักการแปลเรื่องเล่า หลักการแปลบทภาพยนตร์ หลักการแปลการ์ตูน หลักการแปลกวีนิพนธ์ หลักการแปลนิทาน  หรืออาจจะมีมากกว่านี้อีก ซึ่งทุกหลักการแปลทุกประเภทจะมีลักษณะคล้ายกันคือ จะต้องอ่านหลายๆครั้งโดยอ่านให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม และค้นหาความหมายจากหลายแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของงานแต่ละงานเขียน และคำนึงถึงข้องบังคับเฉพาะของแต่ละประเภทของงานแปลอีกด้วย เพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ ผู้อ่านอ่านแล้วสามารถได้รับประโยชน์ทางด้านเนื้อหาสาระและเกิดความเพลิดเพลินอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น