วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text Types

ชนิดของงานเขียน  (Text Types)  (14/03/2559)
                ชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้ว่างานเขียนจะมีหลายประเภทแต่จุดประสงค์ที่ชนิดงานเขียนทุกประเภทมีจุดมุ่งหมายและลักษณะเหมือกันนั้นคือ ชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง ในการเขียนต้องคำนึงถึงความถูกต้องทั้งในด้านการใช้ภาษา ความนิยมและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน มีน้ำหนัก งานเขียนที่ดีต้องมีลักษณะเร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นคา การเรียงลำดับคำในประโยค การใช้ภาพพจน์ มีความเรียบง่าย งานเขียนที่ใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เขียนอย่างวกวน ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ จะมีผลทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้สึกกับงานเขียนนั้นได้ง่าย
                รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน  ในการเขียนผู้เขียนจะตั้งจุดประสงค์เพื่อให้   การเขียนมีขอบเขตและง่ายต่อการเขียน ซึ่งขึ้นอยู่กับเจตนาหรือความต้องการของผู้เขียนที่จะเสนอเรื่องประเภทใดและอย่างไร โดยทั่วไปจุดประสงค์ในการเขียนได้แก่ เพื่อเล่าเรื่องจากประสบการณ์ เพื่อจดบันทึกจากการฟังและการอ่าน เพื่อโฆษณาหรือชักจูงใจ เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำสั่งสอน เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างจินตนาการหรือให้เกิดความบันเทิง
                การเขียนแบบบรรยาย ( Descriptive writing) ในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จะต้องถ่ายทอดให้เห็นเสมือนได้สัมผัส มองเห็น ได้กลิ่นการได้ยินหรือได้รสชาติ ถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ สัมผัสได้และเพื่อให้ข้อมูลเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้อ่าน การตอบคำถามใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และทำไม เป็นการนำเสนอให้เห็นว่าหัวข้อแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันเช่นไร ควรให้ผู้อ่านได้ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เล่า หัวข้อของเราต้องสร้างโดยใช้ความหมายและเรื่องราวที่แตกต่าง ใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์งานเขียนเชิงบรรยายของเรา
                การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative writing) เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องราวที่เป็นจริงหรือแต่งขึ้น ประกอบด้วย การเล่าเรื่องชีวประวัติ ของบุคคลต่างๆ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญของชีวิตบุคคล การเล่าเรื่องที่เป็นบันเทิงคดี (Fictional narrative) เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น และการเล่าเรื่องส่วนบุคคล  (Personal narrative)  เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผู้เขียน งานเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Compare-contrast essay) เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง  
                งานเขียนที่เป็นสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผลเป็นการรายงานข้อมูล จะระวังในเรื่องของการวางแผนดำเนินเรื่อง แต่ละเนื้อหาจะเชื่อโยงกันเป็นพารากราฟ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค โทนของเรื่องจะกล่าวถึงบุคคลที่สาม และจะสรุปใจความสำคัญไว้ในประโยคสุดท้าย Explanation เป็นงานเขียนชนิดที่มีลักษณะคือเป็นการอธิบายแผนภูมิ ตาราง ใช้ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค  มี คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบาย มีเหตุและผลสอดคล้องกัน การเขียนโน้มน้าว (Persuasive) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนและพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย ประกอบด้วย เรียงความที่เป็นความคิดเห็น (personal response) เป็นข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น ทรรศนะ หรือความเชื่อของผู้เขียนที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง เรียงความที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข (Problem-solution) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึงปัญหาและโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อว่า วิธีการแก้ปัญหาของผู้เขียนสามารถแก้ปัญหาได้ เรียงความที่กล่าวถึงการสนับสนุนและการคัดค้าน (Pro-con essay) เป็นข้อเขียนที่ประเมินข้อดี ข้อเสียของความคิดหรือสถานการณ์ ชนิดงานงานเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกผู้อ่านถึงวิธีการทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีขั้นตอนและหลักปฏิบัติ
                ต่อไปจะเป็นงานเขียนประเภทที่มีรูปแบบกำหนด หรือที่เรียนกันว่า Teat types with specific formats จะมีงานเขียนประเภทดังต่อไปนี้ the personal letter จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อส่งต่อให้อีกคนหนึ่ง งานเขียนชนิดนี้จะต้องมีความชัดเจนทางด้านเนื้อหา พร้อมทั้งชัดเจนทางด้านรูปแบบของจดหมาย  the envelope จดหมายธุรกิจ the formal letter จดหมายเฉพาะกิจเป็นจดหมายที่รูปแบบต้องชัดเจน มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป และคำจบท้ายอย่างชัดเจน letter to the editor งานเขียนประเภทนี้จะเป็นงานเขียนที่ใช้เยอะ จะแสดงมุมมองสำคัญอย่างชัดเจน เขียนอย่างมีความสัมพันธ์กัน postcards การเขียนโปสการ์ด เขียนเพื่อสรุป เชื่อความสัมพันธ์ มิตรภาพอย่างไม่เป็นทางการระหว่างบุคคล ใช้มากในวันหยุด จะต้องมีวันที่ สถานที่ ความเชื่อโยงของเนื้อหาสัมพันธ์และชัดเจน invitations เป็นจดหมายเชิญ จะต้องชัดเจนในเรื่องของ วัน เวลา สถานที่ ที่อยู่ติดต่อ
                diary extract เป็นการเขียนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แสดงความคิดเห็นรวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก interviews  เป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลบางอย่างที่ต้องการพร้อมทั้งจดบันทึกอย่างละเอียด  script writing เป็นการเขียนสคริปต์งานต่างๆ จะต้องมีการเขียนที่คำนึกถึงระดับภาษาอีกด้วยพร้อมทั้งเวลา สถานที่ ตัวละคร รวมถึงพล็อตของเรื่องอีกด้วย feature article บทความสารคดีจะเป็นการเขียนระดับทางการหมายของผู้เขียนอีกด้วยและโทนของเรื่องจะต้องตอบสอนงต่อจุดมุ่งหมายของผู้เขียนอีกด้วย editorial บทวิพากษ์วิจารณ์จะเขียนโดยใช้ระดับภาษาของผู้เขียน มีหลากหลายประโยค มีจำนวนคำพอดีกับเนื้อหา มีคำนำ เนื้อหา และสรุปและจะมี linking word เพื่อบอกลำดับขั้นตอนของเนื้อหา  pamphlet แผ่นปลิว จะเป็นการสรุปของเนื้อหาที่ต้องการเผยแพร่โดยจะสั้นกะทัดรัดและได้ใจความสำคัญของเรื่อง advertising  โฆษณาสำหรับการเขียนโฆษณานั้นจะต้องน่าสนใจ อธิบายสิ่งที่ต้องการสื่ออย่างชัดเจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อถึง E-mail FAX SMS ทั้งสามอย่างนี้จะเป็นช่องทางการสื่อสารที่เป็นช่องทางการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
                งานเขียนประเภทกลอนหรือกวี (Poetry writing) สามารถแบ่งลักษณะของประเภทกวีหรือกลอนได้ดังต่อไปนี้ The word poem จะเป็นการที่หนึ่งคำและสร้างเพิ่มจำนวนคำขึ้นไปเรื่อยๆ จากหนึ่งไปสองคำ จากสองคำไปยังสามคำ เป็นอีกหลายคำ the syllable poem จะเป็นการนับพยางค์แล้วนำพยางค์ของคำมาเว้นช่วงจังหวะให้ไพเราะ HaIku จะมีลักษณะพิเศษของกวีนั้นคือจะนับพยางค์ของแต่ละบรรทัดโดยจะใช้พยางค์แต่ละบรรทัดดังนี้คือ 5 ; 7; 5  The shape poem เป็นการใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพ สามารถจินตนาการตามได้และเข้าถึงอารมณ์ได้ Rhyming poetry เป็นจังหวะหรือช่วงทำนองของกลอนหรือกวีนั้นๆเพื่อเพิ่มความไพเราะของงานกวี The limerick Conversion of prose into poetry เป็นกวีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ขันซึ่งกวีจะมี5 บรรทัดซึ่งแต่ล่ะ 5บรรทัดนั้นทุกบรรทัดจะต้องมีคำที่บ่งบอกหรือทำให้เกิดอารมณ์ขันได้
                การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน (Response to literature) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึง  การสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับแก่นของเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Plot) ตัวละครและด้านอื่นๆของบทในหนังสือ หนังสือทั้งเล่มหรือเรื่องที่อ่าน รวมทั้งคำประพันธ์ประกอบร้อยกรอง ประกอบด้วย การบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับตัวละครเป็นข้อเขียนที่เน้น การบรรยายถึงตัวละครสำคัญๆ การสรุปโครงเรื่อง (Plot summary) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ในเรื่องการวิเคราะห์แก่นของเรื่อง (Theme analysis) เป็นข้อเขียนที่เน้นถึงสาระเกี่ยวกับชีวิตที่ผู้เขียนเสนอในเรื่อง และการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า (Research) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอสารสนเทศ         

                ดังนั้นจะสังเกตได้ว่ารูปแบบการเขียนต่างๆมีความแตกต่างกัน โดยจุดประสงค์ในแต่ละประเภทก็ย่อมมีความแตกต่างเช่นกัน การเขียนตามรูปแบบการเขียนที่หลากหลายมีลักษณะแตกต่างกันไป บ้างก็เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เขียนวิเคราะห์ข่าว วิจารณ์ตัวละคร/บทละคร/บทความ และเพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้งความ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง  คำอวยพร บัตรเชิญในโอกาสต่างๆ ประกาศของทางราชการ ผู้แปลจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการเขียนรูปแบบต่างๆเพื่อให้งานแปลเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น