Learning
Log 13
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
“ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณะการทักษะ ” ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านทักษะภาษอังกฤษ เพื่อการร่วมร่วนกันสร้างสรรค์ผลิตสิ่งดีๆเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนภาษาอังกฤษ
ซึ่งในยุคโลกปัจจุบันจะเป็นยุคที่ครูหมดภาวะการแข่งขันกันแล้ว แต่จะเป็นยุคของการร่วมมือกันพัฒนา สร้างสรรค์
พร้องทั้งสรรค์สร้างทักษะทุกๆด้านไปสู้โลกอนาคต ซึ่งตัวผู้เรียนนั้นหรือผู้พัฒนานั้นจะต้องเป็นได้ทั้งผู้นำ ( Leader ) และผู้ตาม ( Follower
) พร้อมที่จะรับมือทุกสถานการณ์ของโลกยุคปัจจุบัน
ซึ่งดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึง การเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ Beyond
Language Learning โดย ดร. สุจินต์ หนูแก้ว , อาจารย์สุนทร
บุญแก้ว และ ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ
การเสวนาวิชาการงานวิจัย
หัวข้อ Beyond Language Learning มีรายละเอียดหัวข้อ
ดังต่อไปนี้ โดยผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล
ได้กล่าวเสวนาสรุปความได้ว่า หลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนี้จะประกอบไปด้วย
5 C โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. Communication (การสื่อสาร)
2. Culture language (วัฒนธรรมภาษา)
3. Connection language (การเชื่อมโยงไปสู่ภาษาอื่นๆทั่วโลก)
4. Compairsion language (การเปรียบเทียบภาษา)
5. Local communication (ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศ)
ดังนั้น
การเรียนรู้ภาษาที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ตามหลักสูตรของ 5 C ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมา ดร. สุจินต์ หนูแก้ว นั้นได้กล่าวต่อไปว่าการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันนั้นไม่ใช่
5 C แต่คือ 7 C ต่างหาก
สำหรับงานวิจัยของ
ดร. สุจินต์
หนูแก้ว และคณะ ได้กล่าวเสวนาวิจัยว่า คุณลักษณะจำเป็นอย่างยิ่งใน 21st century คือ ความสามารถพื้นฐานที่ควรจะมี นั่นคือ การอ่าน เขียน คำนวณ
แต่ในปัจจุบันนั้นผู้อ่านขาดความคิดวิเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันนี้จะยึดหลักการคิด 7
C มีดังนี้
1. Critical and solution problem
2. Creativity and innovation
3. Cultural
4.
5.
6. Computing and listening
ซึ่งหลักการพัฒนาคิดวิเคราะห์ส่วนมากผู้สอนจะรู้จักเพียง
bloom โดยขั้นต่ำเริ่มจาก ความรู้ความจำ , ความเข้าใจ , สามารถนำไปใช้ , ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
, สังเคราะห์ , ประเมินค่า
ดังนั้นต่อมา ลูกศิษย์ของ bloom ได้นำสังเคราะห์ไปอยู่เหนือประเมินค่า เพราะว่าการสังเคราะห์สร้างสรรค์สิ่งใหม่
นั่นคือ ทักษะสูงสุดของความคิด
ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล
ได้กล่าวว่าควรมีการออกแบบทเรียนให้มีความหมายต่อความหลากหลายของผู้เรียนตามทฤษฎี MI คือ multiple intelligent ของ Mast low ซึ่งจะมีความหลากหลายของทักษะ ซึ่งในเรื่องของนวัตกรรม (innovation) นั้นได้ให้มีไว้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. New นั่นคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อการเรียนรู้
2. Different คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากสิ่งเดิม
3. Better คือการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าของเดิม
ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของคำว่า
innovation ได้ว่า
เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่แตกต่างและดีกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม
ต่อไปจะกล่าวถึงการสอนอย่างไรให้เด็กเกิดความคิดขั้นสูง
( High thinking skill )
ซึ่งเด็กที่มีความคิดขั้นสูงได้นั้นต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า Analysing กับ Analysical ซึ่งคำว่า Analysing หมายความว่า
มีความสามารถในการนำข้อมูลไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งการพัฒนาการวิเคราะห์
มีกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ
1. การบูรณาการจัดกิจกรรมในห้องเรียน
โดยออกแบบ Exercise ให้เด็กคิดแยกเยอะเป็น skill
2. มีการจัดกลุ่ม
/ จำแนก แล้วถามว่าทำไมจึงจำแนกได้แบบนี้
3. การเชื่อมความสัมพันธ์
ความเหมือน ความสอดคล้อง ความขัดแย้ง
4. การวิเคราะห์สภาพ ,
ข้อเท็จจริง , ความสำคัญ เช่น
จากภาพนี่คือสภาพอะไร สรุปใจความสำคัญ
5. การทำนายอนาคต ,
การคาดคะเน , การคาดการณ์ ซึ่ง 3 ตัวนี้มีความแตกต่างกัน คือ รายการพยากรณ์ มีความหมายว่า
บอกได้ก็ต่อเมื่อมีการอ่านเอาความคิดมาจากข้อมูลทางวิชาการ ต้องมีข้อมูลเป็น fact
การคาดคะเน มีความหมายว่า แนวโน้มความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถสรุปความได้ว่า ขั้นตอนที่กล่าวมาทั้ง 5 ขั้นตอน
นั้นเป็นการบูรณาการเพื่อให้เกิดทักษะความคิดขั้นสูง ( High thinking )
ต่อมาจะเป็นการกล่าวถึง
Project ของอาจารย์สุนทร บุญแก้ว
ที่มีการนำนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ไปฝึกงานที่ต่างประเทศเป็นเวลา
3 เดือน ถึงผลที่ออกมาจะมีข้อแสดงชัดเจนไม่มาก
แต่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ความมั่นใจ
โดยการไปฝึกงานที่ประเทศมาเลเซีย นั้นจะมีการเรียนรู้โดยสิ่งแวดล้อม (Environment) คือ เวลาที่ใช้ไปในประเทศมาเลเซีย
ว่าสำเนียงไม่จำเป็นต้องถูกต้องตามเจ้าของภาษา แต่ให้พูดสื่อสารได้ก็เพียงพอ
โดยนักศึกษาที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 3 เดือน
จะมีการเรียนรู้ใช้ภาษาด้วยตนเอง (Self knowleadge leaning ) โดยการท่องเที่ยว
โดยการที่พาเด็กไปเที่ยวจะเป็นการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว ทำอย่างซ้ำๆ
โดยเด็กจะมีการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ คือ
1. เข้าใจว่าทำไมภาษาอังกฤษถึงสำคัญ
เพราะว่าภาษาอังกฤษจะใช้สื่อสารในต่างประเทศ
2. เข้าใจบริบทการท่องเที่ยวในต่างประเทศ
การใช้เส้นทาง การเรียนรู้ภาษาระหว่างการท่องเที่ยว
3. เข้าใจว่าทำไมต้องใช้ภาษาอังกฤษ
ดังนั้น
ดิฉันสามารถสรุปประเด็นความรู้ของการเสวนา เรื่อง Beyond Language
Learning ได้ว่า การเรียนภาษาอังกฤษให้มีความก้าวหน้าได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาความคิดขั้นสูง
5 ขั้นตอน ตามผลการวิเคราะห์งานวิจัย ของ ดร. สุจินต์
หนูแก้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น