วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเเปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี (25/04/2559)
(The Translation of Literary Work)
                การแปลงานแปลบันเทิงคดีนั้นเป็นการแปลงานเขียนทุกประเภทที่ไม่จัดให้อยู่ในงานประเภทวิชาการและสารคดี ทั้งนี้หมายถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองอีกด้วย บันเทิงคดี มีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ซึ่งการแปลบันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่แตกต่างจากงานเขียนชนิดอื่น ดังนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างทั้งองค์ประกอบทางเนื้อหาและภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษาเพื่อให้งานแปลบันเทิงคดีเป็นงานแปลที่มีเนื้อหาครบถ้วนและมีภาษา สำนวนที่สละสลวย ถ่ายทอดความรู้สึกของงานสื่อถึงผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนทุกรสชาติและอารมณ์
                องค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา (non-language element) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการแปลงานบันเทิงคดี โดยจะเป็นองค์ประกอบที่เน้นไปในเรื่องของอารมณ์และท้วงทำนองของงาน องค์ประกอบทางด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แลจะต้องให้ความใส่ใจอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี และจะต้องคำนึงถึงการทอดถอดความรู้สึกให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ด้านเนื้อหาและภาษาเพื่อที่จะทำให้งานแปลบันเทิงคดีนั้นมีคุณภาพและมีความหมายพร้อมทั้งความรู้สึกที่ถ่ายทอดออกมาตรงกับต้นฉบับของงานแปลบันเทิงคดีอีกด้วย
                องค์ประกอบทางด้านเนื้อหาและภาษา องค์ประกอบด้านนี้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการแลงานบันเทิงคดีซึ่งแบ่งแยกออกเป็น สามกลุ่ม ซึ่งได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล (Form of address) การใช้ความหมายแฝง (connotation) และภาษาเฉพาะวรรณกรรม (Figurative language) เรากำลังศึกษาและฝึกหัดแปลต้นฉบับไทยเป็นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกบุคคลนั้นไม่ค่อยหลากหลายและยุ่งยากเหมือนภาษาไทย ดังนั้นต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น โดยจะไม่กล่าวถึงการใช้คำเรียกบุคคล
                ภาษาที่มีความหมายแฝง (Connotation) คำศัพท์ในภาษาใดๆประกอบด้วยคำที่มีความหมายตรงตัวและความแฝง เช่น คำศัพท์คำว่า chicken  ความหมายตรงตัว ไก่ ความหมายแฝง ขี้ขลาดตาขาว ในการแปลงานบันเทิงคดี ผู้แปลจะต้องให้ความใส่ใจต่อคำศัพท์ทุกตัว จะต้องพิจารณาหาความหมายอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องตามบริบท เพื่อป้องกันความผิดพลาดนั้น ผู้แปลควรอ่านต้นฉบับจำนวนหนึ่งครั้งโดยอ่านอย่างเข้าใจเนื้อหา ถ้าหากไม่เข้าใจความหมายคำแฝงหรือสำนวนไหน ให้เขียนเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายเอาไว้ แล้วค่อยหาความหมายหลังจากอ่านเสร็จทั้งเรื่อง นอกจากนี้นั้นผู้แปลควรจะใช้ทั้งพจนานุกรมสองภาษาและภาษาเดียว รวมทั้งค้นคว้าหาความหมายจากแหล่งข้อมูลอื่นด้วย เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนตรงตามบริบท
                ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ภาษากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มภาษาที่มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ การสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่างๆลงไปในตัวภาษา ได้แก่ วัฒนธรรมการกินอยู่ แต่งกาย การงาน อาชีพ ความเชื่อ ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง สภาพดินฟ้าอากาศ กล่าวได้ว่า ภาษากลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับทุกแง่มุมของวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางภาษา จะสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา ซึ่งผู้แปลจะต้องศึกษาวัฒนธรรมของภาษาที่จะเปลอย่างลึกซึ้ง เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของภาษา โดยรูปแบบเฉพาะของภาษาที่ใช้ในบันเทิงคดีนั้น ได้แก่ โวหารอุปมาอุปไมย (simile) โวหารอุปลักษณ์ (metaphor)
                โวหารอุปมาอุปไมย (simile) เป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชี้แจงอธิบายเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น ข้อสังเกตคือโวหารอุปมาอุปไมยมักมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะของภาษานั้นคือ คำว่า ดัง ดั่ง เป็นดัง เหมือน เปรียบเสมือน เหมือนกับราวกับ เปรียบประดุจ เหมือนดั่ง เสมอ เฉกเช่น นี่คือคำที่ใช้ในโวหารอุปมาอุปไมยในภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ ได้แก่คำว่า Be ( is, am, are, was, were)  Be like , as…..as เป็นต้น ผู้แปลจะแปลโวหารนี้ได้ก็ต่อเมื่อวิเคราะห์ได้ว่า ประโยคนั้นเป็นการสมมุติแบบใด หากเป็นการสมมุติที่อาจเป็นได้ ผู้แปลจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 1(Conditional sentence type I) แต่หากเป็นการเปรียบเทียบหรือสมมุติสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องใช้โครงสร้างเงื่อนไนแบบที่ 2 (Conditional sentence type II)และข้อความความนั้นแสดงว่าเป็นความจริง ผู้แปลจะต้องใช้ปัจจุบันกาล และส่วนที่เป็นการสมมุติจะต้องอยู่ในรูปของอดีต ส่วนโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น เงินคือพระเจ้า เขาอยู่อยู่บนเส้นด้าย

                หลักการแปลโวหารอุปมาอุปไมย (simile) และโวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) ผู้แปลจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างไวยากรณ์และความแตกต่างของวัฒนธรรมทางภาษา โดยจะมีข้อปฏิบัติทีควรคำนึงดังนี้ a. เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายตรงกันระหว่างสองภาษานั้นสามารถแปลตรงตัวอักษรได้เลย เช่น ออกดอกออกผล = bear fruit b. เมื่อโวหารนั้นไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาผู้แปลสามารถตัดทิ้งได้เลย c.เมื่องานเขียนเป็น กวีนิพนธ์นั้นผู้แปลจะต้องทำหมายเหตุหรืออธิบายความหมายของอุปมาอุปไมยหรืออุปลักษณ์ไว้ในเชิงอรรถ d.สืบค้นโวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษแปล หรือสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงจำพวกพจนานุกรมเฉพาะ เช่น Dictionary of Idioms หรือ  Expression หนังสือรวบรวมสุภาษิต คำพังเพย คำคม ดังนั้นเมื่อรู้ความหมายแล้ว ผู้แปลสามารถตัดสินใจได้ว่าควรตัดทิ้งหรือควรแปลเพื่อให้ไดอรรถรสของต้นฉบับ

1 ความคิดเห็น: