การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
(21/03/2559)
งานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้
งานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้
การถ่ายทอดตัวอักษรเป็นการนำคำในภาษาหนึ่งแปลงเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางเสียงหรือการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ
เพื่อให้มีความหมายเดิมมากที่สุดเพื่อคุณภาพของงงานแปลที่ดี ซึ่งการถ่ายถอดตัวอักษรจะมีกรณีของการถ่ายทอดตัวอกษรตามกฎดังกล่าวต่อไปนี้
ข้อแรกนั่นคือ เมื่อเป็นภาษาที่เป็นชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์
ชื่อแม่น้ำ ชื่อภูเขา หรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
ส่วนข้อที่สองคือ เมื่อคำในภาษาต้นฉบับไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับอีกภาษาหนึ่งได้
ซึ่งกล่าวได้คือ อีกภาษาหนึ่งไม่มีภาษาเทียบเคียงให้ (equivalent word) เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์
หรือกิจกรรมบอกชนิดที่ไม่การบัญญัติ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไข ได้สองวิธีคือ
ใช้วิธีการให้คำนิยามและใช้ทับศัพท์
สำหรับหลักการถ่ายทอดตัวอักษรของงานต้นฉบับจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งจะยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำนั้น
โดยจะมีการยึดหลักดังต่อไปนี้ ข้อแรกคือ
ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียง (phone) อะไรบ้าง แล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแปลที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆได้
ข้อที่สองนั่นคือ ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระตรงกันส่วนมาก
ดังนั้นผู้แปลจะต้องเทียบเคียงเสียงสระคำนั้น เช่น “พ”
แทนเสียงแรกในคำว่าว่า “paul” เป็นต้น
แต่จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งตัวอักษรหรือสองตัวอักษรซึ่งมาสามารเทียบเสียงได้เลย
ดังนั้นผู้แปลจำเป็นต้องหาเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด
ประเด็นต่อมาคือหากใช้หลักการถ่ายทอดเสียงแบบใดแล้วจะต้องใช้ตลอดเรื่องงานแปลชิ้นนั้น
และประเด็นสุดท้ายกล่าวคือ สำหรับการยืมคำศัพท์มาเขียนในฉบับแปล
ถ้าคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมไว้ในต้นฉบับไว้ด้วย
ต่อมาจะเป็นบัญชีซึ่งจะมีไว้เพื่อสำหรับผู้แปลระหว่างภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดตัวอักษรจะกล่าวเป็นตัวอย่างต่อไปนี้จะมีด้วยกัน
สองบัญชี คือ บัญชีที่หนึ่ง และบัญชีที่สอง
บัญชีที่หนึ่งจะกล่าวถึงการถ่ายทอดจากภาษไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในช่องแรกเป็นตัวอักษรไทย
ส่วนเสียงของตัวอักษรนั้นแสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ (phonetic symbols) ใน [ ] ในช่องที่สองเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
และช่อง ถัดไปเป็นตัวอย่าง
บัญชีที่สอง
สำหรับการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับบัญชีที่หนึ่ง
กล่าวคือ ช่องที่หนึ่ง เป็นเสียง ช่องต่อไปคือ ตัวอักษรไทยที่ใช้แทน
และช่องที่สามนั้นคือตัวอย่าง
ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า
การถ่ายทอดตัวอักษรเป็นการนำคำในภาษาหนึ่งแปลงเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางเสียงหรือการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ
เพื่อให้มีความหมายเดิมมากที่สุดเพื่อคุณภาพของงงานแปลที่ดี
ผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเข้าใจเนื้อหาและความหมายของคำนั้นได้อย่างถูกต้องตามต้นฉบับงานแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น