วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log 2 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในเเละนอกห้องเรียน

สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนและสิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน

จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 2 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียน และ สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
                สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนในคาบนี้เป็นการมองย้อนอดีตเพื่อทบทวนความรู้ ,พฤติกรรมของตนเออง และวิธีการสอนของครูที่ตนประทับซึ่งทั้งสามประเด็นนี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่า เรานั้นจะต้องมีการเรียนรู้อย่างไรในอนาคตพร้อมทั้งอาจารย์ผู้สอนการแปลจะสอนอย่างไรเพื่อให้เรามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจากเดิมและควรพัฒนาตนอย่างไรให้มีความรู้ที่แท้จริงโดยลักษณะกระบวนการของอาจารย์จะให้นักศึกษานำเสนอความคิดของตนเองผ่านการพูดซึ่งพูดโดยใช้ความรู้สึกซึ่งไม่มีถูกไม่มีผิดเพราะเป็นคำถามปลายเปิด


                การมองย้อนอดีตในเรื่องของการทบทวนการเรียนรู้นั้นซึ่งทำให้หนูมองเห็นอย่างชัดเจนว่า ความรู้ด้านวิชาภาษาอังกฤาของหนูเพิ่งเริ่มมีการเรียนรู้อย่างจริงจังและตั้งใจเรียนเมื่อตอนเริ่มเข้าศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งทำให้หนูรู้ว่าการเรียนรู้ของหนูเริ่มต้นช้าไปเพราะเราควรจะมีความรู้ที่เพียงพอต่อการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ แต่เพื่อไม่ให้สายเกินไป หนูควรพัฒนาและเรียนรู้ที่ช้าไปและเรียนรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอนให้มากขึ้น ส่วนวิธีการสอนที่ตนพึงพอใจนั้นคือ อาจารย์สุจินต์ หนูแก้ว หนูรู้สึกว่าอาจารย์เข้มงวดในการสอนอย่างจริงจัง มีความชัดเจนในคำพูดไม่พูดบั่นทอนจิตใจนักศึกษา อาจารย์มักจะพูดเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อสร้างทักษะชีวิตเพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับเราเพื่อให้รู้จักพัฒนาตนเองบ้าง ส่วนอาจารย์อีกท่านนั้นคือ อาจาร์ย ดิศราพร สร้อยญาณะ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีลักษณะการสอนแบสบายๆ มีการสอนที่เข้าถึงนักศึกษาพร้อมทั้งเสริมทักษะชีวิตเพื่อให้นักศึกษามีกำลังใจในการเรียนรู่ต่อไปในอนาคต
                สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนได้ว่า การเรียนรู้ในคาบนี้จะทำให้นักศึกษารู้จักตนเองว่าควรมีแนวทางในการปฎิบัติตนเองเพื่อปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นและจะทำให้การเรียนรู้ในอนาคตมีความเข้าใจการเรียนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม  พร้อมทั้งได้สรุปความพึงพอใจในการวิธีการสอนของอาจารย์ภายในสาขา จาก 6 คน ได้รับความพึงพอใจอยู่ 2 คน ซึ่งอาจารย์ที่ได้รับความพึงพอใจในการสอนนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่ง อาจารย์สุจินต์ หนูแก้ว เข้มงวดในการสอนอย่างจริงจัง มีความชัดเจนในคำพูดไม่พูดบั่นทอนจิตใจนักศึกษา อาจารย์มักจะพูดเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อสร้างทักษะชีวิตเพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับเราเพื่อให้รู้จักพัฒนาตนเองบ้าง ส่วนอาจารย์อีกท่านนั้นคือ อาจารย์ ดิศราพร สร้อยญาณะ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีลักษณะการสอนแบสบายๆ มีการสอนที่เข้าถึงนักศึกษาพร้อมทั้งเสริมทักษะชีวิตเพื่อให้นักศึกษามีกำลังใจในการเรียนรู่ต่อไปในอนาคต
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
                ต่อไปนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียนซึ่งเป็นการช่วยให้เรามีการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น บทความของ อาจารย์สมศีล ญาณวังศะ ที่มีชื่อบทความว่า กลยุทธ์ในการเรียนภาษา สามารถช่วยให้เราพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปได้ความดังนี้
                ในปัจจุบันนี้เป็นยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังมาแรงทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มีการเรียนสองภาษาและสามภาษาเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความคิดที่ว่า หากเรียนวิชาอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษสามารถทำให้เก่งภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังมีการศึกษานอกระบบที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ได้ง่าย คือ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต โดยการเรียนภาษาอังกฤษนั้นกล่าวได้ว่า การเรียนรู่ภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎี ส่วนทักษะเป็นภาคปฏิบัติ การเรียนรู้แต่ละภาคปฏิบัติโดยไม่ฝึกปฏิบัติ ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายคือสามารถใช้ภาษาได้ แต่ปัญหาที่ยังมีอยู่เหมือนเดิมคือ ไม่สามารถที่ใช้ พูด ฟัง อ่าน เขียน และแปลได้อย่างแท้จริง ดังนั้นทำให้มองถึงสาเหตุของปัญหาการเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งไปยังปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน เช่น โทษครูผู้สอน โทษตำรา แบบเรียนและสื่อการเรียนการสอน ซึ่งภาพรวมอาจจะมีการอ่อนลง แต่ยังมีบางคนที่เรียนภาษาอังกฤษได้ดี จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า ตัวผู้เรียนเองนั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า ภาษานั้นเรียนได้ แต่สอนไม่ได้ การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีผู้เรียนจึงต้องปลับเปลี่ยน พฤติกรรมโดยเน้นไปยังการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น ซึ่งจะต้องมีการดำเนินไปอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่กำหนดเป้าหมายที่ตนคิดว่าสามารถทำได้จริง ต้องรู้จักเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ ที่สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น และขั้นต่อไปคือ การพัฒนากลยุทธ์ ในการเรียน โดยกลยุทธ์ที่จะแนะนำเพื่อช่วยให้พัฒนาตามความเหมาะสมของตนเองได้ ซึ่งกลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบ เริ่มต้นจากการศึกษา เราจะต้องศึกษาหาความรู้ เรื่องศัพท์และไวยากรณ์ อันถือว่าเป็นตัวเนื้อหา กลักภาษาโดยตรง ต่อมาเราจำเป็นต้อง ฝึกฝนโดยการฝึกฝนภาษาให้ได้ผลนั้น จะต้องผ่าน อินทรีย์ หลายด้านควบคู่กันไป คือ ตามหน้าที่ ดูเพื่อการอ่านที่ดีของตัวหนังสือและ ข้อความ หู-ฟัง ครอบคลุมการฟังทั้งสียงและน้ำเสียงของผู้พูด ปาก ทำหน้าที่พูด หมายถึงการออกเสียงการพูดการสนทนาการออกเสียง การบรรยาย มือ ทำหน้าที่ เขียน ผู้เรียนภาษาต้องใส่ใจเรื่องระเบียบแบแผนที่ถูกต้องในการเขียน ทั้งสี่ทางนี้สอดคล้องกับทักษะการใช้ภาษา 4 ด้าน นอกจากนี้ยังมีแรงเสริมอีก 2 ทาง คือ หัวและสมอง ทำหน้าที่คิดวิพากษ์-พิจารณา และใจ หมายถึงใจรักสิ่งที่ศึกษาก่อน และอีกประการของกลยุทธ์คือผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องมีการฝึกเป็นคนช่างสังเกต รอบคอบในการเรียนและการใช้ภาษาในเรื่องของไวยากรณ์,ศัพท์,โวหาร,สำนวน และการลำดับกลยุทธ์ต่อมาคือ การจดจำ และต้องจำได้เองตามธรรมชาติจากการหมั่นฝึกฝน และต่อมาการเลียนแบบเพราะภาษาจำเป็นต้องอาศัยการเลียนแบบ เนื่องจากเราต้องเริ่มหัดพูดเลียนแบภาษาเพื่อให้คล้ายกับภาษาที่สองให้มากที่สุด นอกจากนี้การดัดแปลงก็เป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากการรู้จักการดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวนโวหารต่างๆ สำหรับการวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์ในการเรียนระดับสูงที่ต้องมีการอ่านการเขียนและการแปลภาษาวิชาการและภาษาวิชาชีพ และการค้นคว้า เป็นสิ่งที่สามารถช่วยพัฒนาได้ดีเพราะผู้เรียนสามารถหาได้จากแหล่งความรู้ข้อมูลต่างๆซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ง่ายสุด และสองกลยุทธ์สุดท้ายคือการใช้งานและการปรับปรุง ซึ่งการใช้งานคือ การเรียนภาษาแล้วนำไปใช้ได้จริง ส่วนการปรับปรุงนั่นคือ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษาและฝึกฝน
                ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าในยุคนี้การเรียนภาษาเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้วยตนเองอย่างมีระเบียบแผน โดยนำองค์ประกอบทั้งสิบของกลยุทธ์ในการเรียนภาษามาเป็นเครื่องมือหรือตัวนำทางที่จะช่วยให้พัฒนาได้ดีและสม่ำเสมอ และยังคงสามารถใช้ภาษาจริงในชีวิตประจำวันและใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า การเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการการที่ต้องดำเนินไปตลอดชีวิต
                สรุปถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนคือ เรานั้นรู้ตัวเอง ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอที่จะใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและวิธีที่สามารถช่วยให้เราเก่งขึ้นได้นั้นมี 2 คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่  วิธีการสอนของอาจารย์ , แหล่งข้อมูลต่างๆ อีกปัจจัยก็คือ ปัจจัยภายใน ซึ่งปัจจัยในนั่นก็คือ ตัวเราเองดังนั้นเราจึงต้องหมั่นฝึกฝนโดย เป็นระเบียบแบบแผนอย่างมีระบบ และอาศัยกลยุทธ์ในการเรียนภาษาเพื่อการฝึกฝนและพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสามารถนำภาษาอังกฤษมาใช้ได้จริง

1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลของคุณดีเยี่ยมมากเหมือนได้อยู่ในห้องเรียนด้วยเรยมีความรู้เพิ่มขึ้น หนังออนไลน์

    ตอบลบ