วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเเปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี (25/04/2559)
(The Translation of Literary Work)
                การแปลงานแปลบันเทิงคดีนั้นเป็นการแปลงานเขียนทุกประเภทที่ไม่จัดให้อยู่ในงานประเภทวิชาการและสารคดี ทั้งนี้หมายถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองอีกด้วย บันเทิงคดี มีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ซึ่งการแปลบันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่แตกต่างจากงานเขียนชนิดอื่น ดังนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างทั้งองค์ประกอบทางเนื้อหาและภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษาเพื่อให้งานแปลบันเทิงคดีเป็นงานแปลที่มีเนื้อหาครบถ้วนและมีภาษา สำนวนที่สละสลวย ถ่ายทอดความรู้สึกของงานสื่อถึงผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนทุกรสชาติและอารมณ์

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (1/02/59)
                                การถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เนื่องจากงานแปลแต่ละชิ้นงานนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงแบบเดียวกันทั้งหมดเพราะว่างานแปลชิ้นนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นการถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะเข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมทั้งได้รับประโยชน์จากงานแปลชิ้นนั้นอีกด้วย

การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration) (21/03/2559)
                                งานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้

Model 1 Relations between ideas

Model 1 Relations between ideas (29/02/2559)



                การเขียน (Writing) หรืองานเขียนทุกประเภทนั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของงานเขียนชนิดนั้น ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ของงานเขียนแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต่องานเขียนนั่นคือกลวิธีหรือลำดับขั้นตอนของการเขียนเพื่อให้เขียนออกมาแล้วมีจุดประสงค์ของงานเขียนที่ชัดเจน เข้าใจงานเขียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง  Ideas        

Text Types

ชนิดของงานเขียน  (Text Types)  (14/03/2559)
                ชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้ว่างานเขียนจะมีหลายประเภทแต่จุดประสงค์ที่ชนิดงานเขียนทุกประเภทมีจุดมุ่งหมายและลักษณะเหมือกันนั้นคือ ชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง ในการเขียนต้องคำนึงถึงความถูกต้องทั้งในด้านการใช้ภาษา ความนิยมและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน มีน้ำหนัก งานเขียนที่ดีต้องมีลักษณะเร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นคา การเรียงลำดับคำในประโยค การใช้ภาพพจน์ มีความเรียบง่าย งานเขียนที่ใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เขียนอย่างวกวน ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ จะมีผลทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้สึกกับงานเขียนนั้นได้ง่าย

หลักการเเปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม (8/02/2559)
                                งานแปลทางบันเทิงคดีนั้นมีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีหลักการแปลที่แตกต่างกันซึ่งจะปรากฏในหัวข้อที่ว่า หลักการแปลวรรณกรรม ซึ่ง คำว่า วรรณกรรม หมายถึงหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะชีวิตร้อยแก้วหรือร้อยกรองไม่ว่าจะเป็นผลงานกวีโบราณหรือปัจจุบันซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่าวรรณคดีด้วยตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท  บันเทิงคดี งานแปลทางบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่งานแปล นวนิยาย  เรื่องสั่น  นิทาน   นิยาย  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน ความรู้ ความสนุกสนาน ดังนั้นการแปลวรรณกรรมที่สำคัญนั้นคือ การรักษาความหมายให้คงเดิมพร้อมทั้งรักษารสความหมายเดิม

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (14/03/2559)
                                กระบวนการงานแปลที่ดีจำเป็นต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นมีความหมายว่า ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยและผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล อ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของภาษายังคงความหมายเดิม ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบย่อยของการแปล ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร

The Passive

The Passive (1/02/2559)
(กรรมวาจก)

                                การแปลขั้นสูงนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยความแม่นยำและถูกต้องตามหลักโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะมีความยากมากกว่าการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทยนั้นจะมีการใช้คำและสำนวนที่มีความหลากหลายทางภาษามากกว่าภาษาอื่นๆ ซึ่งคำในภาษาไทยเมื่อนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่ไพเราะส่วนมากจะเป็นการแปลโดยใช้ The passive หรือที่เรียกกันว่า กรรมวาจก เพราะว่าเมื่อใช้แล้วจะทำให้ความหมายมีความความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายเรื่อง The passive อย่างละเอียดตามโครงสร้างหลักไวยากรณ์