วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค (29/02/2559)
                                กระบวนการแปลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแปลงานที่ดี แต่ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญไม่แตกต่างกันเลยนั่นคือ โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะสั้นหรือว่ายาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไร สามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้นเพื่อที่จะทำให้ประโยคเหล่านั้นถูกต้องตามหลักของ pragmatic อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย มีความหมายที่ชัดเจน มีใจความสมบูรณ์ มีภาษาที่สละสลวย ไม่ซับซ้อน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการแปล ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของประโยคนั้นสามารถแบ่งรูปแบบได้ถึง 25 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของประโยคแตกต่างกันเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเเปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี (25/04/2559)
(The Translation of Literary Work)
                การแปลงานแปลบันเทิงคดีนั้นเป็นการแปลงานเขียนทุกประเภทที่ไม่จัดให้อยู่ในงานประเภทวิชาการและสารคดี ทั้งนี้หมายถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองอีกด้วย บันเทิงคดี มีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ซึ่งการแปลบันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่แตกต่างจากงานเขียนชนิดอื่น ดังนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างทั้งองค์ประกอบทางเนื้อหาและภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษาเพื่อให้งานแปลบันเทิงคดีเป็นงานแปลที่มีเนื้อหาครบถ้วนและมีภาษา สำนวนที่สละสลวย ถ่ายทอดความรู้สึกของงานสื่อถึงผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนทุกรสชาติและอารมณ์

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (1/02/59)
                                การถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เนื่องจากงานแปลแต่ละชิ้นงานนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงแบบเดียวกันทั้งหมดเพราะว่างานแปลชิ้นนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นการถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะเข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมทั้งได้รับประโยชน์จากงานแปลชิ้นนั้นอีกด้วย

การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration) (21/03/2559)
                                งานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ หรือ ชื่อเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะไม่เข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้อ่านได้

Model 1 Relations between ideas

Model 1 Relations between ideas (29/02/2559)



                การเขียน (Writing) หรืองานเขียนทุกประเภทนั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของงานเขียนชนิดนั้น ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ของงานเขียนแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต่องานเขียนนั่นคือกลวิธีหรือลำดับขั้นตอนของการเขียนเพื่อให้เขียนออกมาแล้วมีจุดประสงค์ของงานเขียนที่ชัดเจน เข้าใจงานเขียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง  Ideas        

Text Types

ชนิดของงานเขียน  (Text Types)  (14/03/2559)
                ชนิดของงานเขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดของงานเขียนนั้นจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้ว่างานเขียนจะมีหลายประเภทแต่จุดประสงค์ที่ชนิดงานเขียนทุกประเภทมีจุดมุ่งหมายและลักษณะเหมือกันนั้นคือ ชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง ในการเขียนต้องคำนึงถึงความถูกต้องทั้งในด้านการใช้ภาษา ความนิยมและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน มีน้ำหนัก งานเขียนที่ดีต้องมีลักษณะเร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นคา การเรียงลำดับคำในประโยค การใช้ภาพพจน์ มีความเรียบง่าย งานเขียนที่ใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เขียนอย่างวกวน ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ จะมีผลทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้สึกกับงานเขียนนั้นได้ง่าย

หลักการเเปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม (8/02/2559)
                                งานแปลทางบันเทิงคดีนั้นมีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีหลักการแปลที่แตกต่างกันซึ่งจะปรากฏในหัวข้อที่ว่า หลักการแปลวรรณกรรม ซึ่ง คำว่า วรรณกรรม หมายถึงหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะชีวิตร้อยแก้วหรือร้อยกรองไม่ว่าจะเป็นผลงานกวีโบราณหรือปัจจุบันซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่าวรรณคดีด้วยตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท  บันเทิงคดี งานแปลทางบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่งานแปล นวนิยาย  เรื่องสั่น  นิทาน   นิยาย  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน ความรู้ ความสนุกสนาน ดังนั้นการแปลวรรณกรรมที่สำคัญนั้นคือ การรักษาความหมายให้คงเดิมพร้อมทั้งรักษารสความหมายเดิม

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (14/03/2559)
                                กระบวนการงานแปลที่ดีจำเป็นต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นมีความหมายว่า ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยและผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล อ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของภาษายังคงความหมายเดิม ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบย่อยของการแปล ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร

The Passive

The Passive (1/02/2559)
(กรรมวาจก)

                                การแปลขั้นสูงนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยความแม่นยำและถูกต้องตามหลักโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะมีความยากมากกว่าการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทยนั้นจะมีการใช้คำและสำนวนที่มีความหลากหลายทางภาษามากกว่าภาษาอื่นๆ ซึ่งคำในภาษาไทยเมื่อนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่ไพเราะส่วนมากจะเป็นการแปลโดยใช้ The passive หรือที่เรียกกันว่า กรรมวาจก เพราะว่าเมื่อใช้แล้วจะทำให้ความหมายมีความความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายเรื่อง The passive อย่างละเอียดตามโครงสร้างหลักไวยากรณ์

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กลวิธีการสอนภาษาอังกฤษ

Larning Log 16
30 10 58 เวลา 13.00 – 14.30 )
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
                
                   
 กลวิธีการสอนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนั้น  มีการจัดการเรียนการสอนที่หลายรูปแบบ  หลากหลายสื่อการสอน  ซึ่งกลวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นที่มีความหลากหลายจะความสามารถช่วยเพิ่มความกระตุ่นและความน่าสนใจให้กับการกระบวนการเรียนการสอนนั้น  พร้อมทั้งจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนที่มีความต้องการที่จะเรียนพร้อมทั้งเปิดใจเปิดโลกทัศน์พร้อมการเรียนรู้  ดังนั้นหน้าที่ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษคือการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้และสื่อการสอนให้มีความน่าสนใจ  พร้อมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดจากสื่อการสอนชิ้นนั้นๆ  ซึ่ง  ผศ. ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร  ได้มีการแนะนำว่า  ควรมีการจัดการเรียนการสอนภาษาในรูปแบบของเรื่องราว  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำความรู้ด้วยดี  ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำพร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติพร้อมกันมีดังนี้  คือ  การเรียนการสอนโดยการใช้เพลงและให้ลงมือปฏิบัติซ้ำๆหลายๆครั้ง  ต่อมาคือการต่อเรื่องราวที่ละคนเพื่อให้ได้เรื่องหนึ่ง  หลังจากนั้นนำเรื่องราวมาสร้างเป็นจินตนาการรูปภาพพร้อมทั้งสรุปใจความสำคัญของเรื่องงนั้น

วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21

Learning Log 15
( 30 / 10 / 58 เวลา 09.00 12.00 )
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

                สำหรับศตวรรษที่  21 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปหลายด้าน  เช่น  ด้านการศึกษา  ด้านการสื่อสาร  ด้านการแพทย์   ด้านวิทยาศาสตร์  และด้านอื่นๆ  อีกมากมาย  ซึ่งด้านที่มีความจำเป็นต่อครูนั่นคือด้านการศึกษา  ซึ่งจะมุ่งประเด็นสำคัญไปที่วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21 ซึ่งเป็นศตวรรษที่มีความเจริญก้าวหน้าทุกๆด้าน  ซึ่งจะให้ความรู้โดย  ผศ. ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร  ในหัวข้อวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21  โดยในหัวข้อจะมีประเด็นที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้  การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต  การเรียนการสอนในศตวรรษที่  21  กลวิธีการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน  ซึ่งแนวการสอนจะแบ่งได้  4  ขั้นตอนดังนี้  คือ  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์   แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา  แนวการสอนภาษาอังกฤษที่แบบบรูณาการเนื้อหาและภาษา

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ



สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
Learning  Log  14
(29/10/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม(เวลา  13.00 – 16.00)

การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เป็นการสอนที่มีการสอนหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาเป็นเทคนิคในการสอนที่หลากหลายสามารถนำมาปรับใช่สำหรับการสอนภาษาอังกฤษ ในห้องเรียน ปกติซึ่งปัจจุบันมีกลวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่หลากหลายสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน และสร้างแรงกระตุ้นในการอยากที่จะเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้มีหลากหลาย วิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านเกมส์ กิจกรรม ซึ่งมีการสอนภาษา ดังนี้ การสอนคำศัพท์ การสอนออกเสี่ยง การสอนการแสดง Role  play การเรียนรู้ culture (วัฒนธรรมภาษา) การเรียนรู้เรียงสำนวนภาษาอังกฤษ ซึ่งก่อนอื่นที่จะออกแบบบทเรียนที่ดีนั้น ครูควรมีทัศนคติของผู้เรียนต่อภาษาอังกฤษ และต่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษอีกด้วย ดังนั้นครูผู้สอนภาอังกฤษ ควรตระหนักและออกแบบ บทเรียนเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช่ได้จริง และให้นักเรียนได้ฝึกจากสถานการณ์จริง

การเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ Beyond Language Learning

Learning Log 13
( 29/10/58  เวลา 09.15-12.00 น. )

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณะการทักษะซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านทักษะภาษอังกฤษ เพื่อการร่วมร่วนกันสร้างสรรค์ผลิตสิ่งดีๆเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนภาษาอังกฤษ  ซึ่งในยุคโลกปัจจุบันจะเป็นยุคที่ครูหมดภาวะการแข่งขันกันแล้ว  แต่จะเป็นยุคของการร่วมมือกันพัฒนา สร้างสรรค์ พร้องทั้งสรรค์สร้างทักษะทุกๆด้านไปสู้โลกอนาคต ซึ่งตัวผู้เรียนนั้นหรือผู้พัฒนานั้นจะต้องเป็นได้ทั้งผู้นำ  ( Leader ) และผู้ตาม ( Follower ) พร้อมที่จะรับมือทุกสถานการณ์ของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึง การเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ Beyond Language Learning โดย ดร. สุจินต์ หนูแก้ว , อาจารย์สุนทร บุญแก้ว และ ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ

ฝึกทักษะการฟัง โดยบทเพลงที่มีชื่อว่า Cater 2 u ,Do somethin’

Learning Log 11
(13/10/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในยุคที่ภาษาอังกฤษมีความเฟื่องฟูนั้นได้มีการเกิดขึ้นของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษและยังมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งในระบบและนอกระบบและยังมีสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ อีกมากที่สามารถเสริมความรู้ทางด้านวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งโปรแกรมอินเตอร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตได้มีการเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับทุกคนหรือทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อให้ทุกคนได้ฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่หลากหลาย และดังนั้นเพื่อการเรียนภาษาอังกฤษที่ดีควรมีกลยุทธ์ในการเรียนทักษะภาษาอังกฤษด้วยทั้ง 10 องค์ประกอบเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจและแท้จริง เพราะการเรียนรู้ภาษาที่ดีนั้นคือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จากข้อมูลแหล่งข้อมูลที่มีอยู่จนกระทั่งผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ฝึกฝนมาใช้ได้จริงอย่างธรรมชาติและถูกต้องอย่างชำนาญ ดังนั้น ดิฉันจึงต้องมีการฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามารถมาใช้ในการเรียนและการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝึกทักษะการฟัง จากบทเพลงที่มีชื่อว่า HOME , อ่านวรรณคดี Eighteenth century prose

Learning Log 10  ( 06.10.58 )
·       สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน

ในยุคนี้เป็นยุคที่ภาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู เนื่องจากได้รับให้เป็นภาษาที่สอง ที่ทั่วโลกจะต้องใช้ภาษาในการสื่อสาร จึงทำให้มีการจัดการเรียนการสอนในภาษาอังกฤษในระบบและนอกระบบที่หลายหลาย ดังนั้นการฝึกฝนทักษะภาอังกฤษ จึงสามารถศึกษาได้หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับทุกคนหรือบุคคลทั่วไปได้เรียนภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้เพื่อการเรียนภาษาอังกฤษที่ดี ควรมีกลยุทธ์ในการเรียนภาษาทั้ง 10 องค์ประกอบ เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะการฝึกทักษะทางภาษาของผู้เรียน ก็คือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากข้อมูลความรู้ทางภาษาของผู้เรียนจนสามารถนำทักษะที่ฝึกฝนมาใช้ได้จริงอย่างธรรมชาติและถูกต้องคล่องแคล่ว ดังนั้นดิฉันจึงต้องมีการฝึกฝนทักษะทางภาษาอังกฤษ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามรถมาใช้ในการเรียนและการสื่อสารภาษาอังกฤษมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝึกทักษะการฟังจากบทเพลงที่มีชื่อว่า The day you went away , My happy ending

Learning Log 9
(29/09/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน

                ในยุคที่ภาษาอังกฤษนั้นกำลังเฟื่องฟูมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายแล้วนั้น ยังมีสื่ออื่นๆอีกมากมายที่มีภาษาอังกฤษรวมอยู่ด้วย และยังมีโปรแกรมอินเตอร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษด้วยในการเรียนการสอน ทั้งนี้นอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียนเราต้องศึกษาค้นคว้าภาษาอังกฤษเพิ่มเติมเพื่อให้เราเองเก่งภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับทุกตนหรือบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยทั้งนี้เพื่อการเรียนภาษาอังกฤษที่ดีควรมีกลยุทธ์ในการเรียนภาษาทั้ง 10 องค์ประกอบ เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างแท้จริง เพราะการฝึกทักษะทางภาษาของผู้เรียนก็คือการฝึกทักษะพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งอีกจากข้อมูลความรู้ทางภาษาของผู้เรียนจนสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วนั่นเอง ดั้งนั้นดิฉันจึงจะต้องมีการฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อที่จะได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ในการเรียนและการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การลดรูปของ Adverb clause

Learning log 9
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
            ไวยากรณ์ (Grammar ) เป็นพื้นฐานหลักหรือเรียกได้ว่าเป็นการเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของสำหรับเรื่องไวยากรณ์นั้นจะเป็นตัวเชื่อมโยงลงไปสู่การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งการแปลประโยคให้มีภาษาที่สวยงามมีความสละสลวยได้นั้น มีความจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Adverb  clauseไวยากรณ์พื้นฐานที่ดิฉันไม่เข้าใจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหน้าที่ ประเภทของ Adverb clause มาเชื่อมโยงการแปลเพื่อการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ควรแปลให้ดีและเมือ่แปลงานออกมาแล้วจะได้ภาษาสละสลวยและผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเกิดความประทับใจในการอ่านงานแปลชิ้นนั้นๆอย่างมีความสุขและมีความประทับใจ ดังนั้นในคาบเรียนวิชาการแปลจึงได้มีการจัดการเรียนรู้แบบการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการสรุปประเด็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้

ฝึกทักษะการฟังจากบทเพลงที่มีชื่อว่า Somewhere only we know ,Bad boy

Learning Log 8
(22/09/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
               
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษนั้นกำลังเฟื่องฟู มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายแล้วนั้น ยังมีสื่ออื่น ๆ อีกมากมายที่มีภาษาอังกฤษร่วมอยู่ด้วยและยังมีโปรแกรมอินเตอร์ ที่ใช้ภาษาล้วนในการเรียนการสอน ทั้งนี้นอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียนเราต้องศึกษาค้นคว้าภาษาอังกฤษเพิ่มเติม เพ่อให้เราเองยิ่งเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับทุกคนหรือบุคคลทั่วไปได้เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยทั้งนี้เพื่อการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีควรมีกลยุทธ์ในการเรียนภาษาทั้ง 10 องค์ประกอบเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างแท้จริง  เพราะการฝึกทักษะทางภาษาก็คือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำแล้ว ซ้ำอีก หากข้อมูลความรู้ทางภาษาของผู้เรียนจนสามารถสื่อสารได้ถูกต้องคล่องแคล่วนั่นเอง ดังนั้น ดิฉันจึงจะต้องมีการงฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษทั้งฟังพูดอ่านเขียนเพื่อจะได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ในการเรียนและการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมีคุณภาพ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

learning log 8 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

Learning Log 8
(6/10/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
               
                การแปลงานงานแปลภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาไทยนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับ ไวยากรณ์ (Grammar) ซึ่งสำหรับวิชาภาษอังกฤษนั้นไวยากรณ์ได้เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งไวยากรณ์นั้นจะมีประโยชน์ต่อการแปรภาษาอังกฤษ เพราะเป็นการเชื่อมโยงไวยากรณ์สู่การแปลภาษาอย่างมีหลักการ มีภาษที่สละสลวย และภาษที่ชัดเจนเข้าใจความหมายได้ง่ายและถูกต้อง ดังนั้นในส่วนต่อไปนี้เราจะกล่าวถึง Noun clause เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับลักษณะของ noun clause และมีกี่แบบ โดยทั่วไปของนามานุประโยคในภาษาอังกฤษ เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับนามานุประโยค (noun clause) มาเชื่อมโยงไปสู่การแปลภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ควนแปลให้น่าอ่าน และเมื่อแปลออกมาแล้วจะได้ภาษาสละสลวยและผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเกิดความประทับใจในการอ่านงานแปลชิ้นนี้อย่างมีความสุขและประทับใจ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

English through films เรื่อง Frozen

Learning Log 7
15 08 58 เวลา 13.00 – 14.30 )
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
                
               การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ในเรื่องของศาสตร์และศิลป์ในวิชาภาษาอังกฤษนั้นเป็นการพัฒนาที่ต้องฝึกความอดทนเป็นอย่างมากเนื่องจากความอดทนต่อการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่ถนัดและไม่เคยชินในชีวิตประจำวันนั้นเป็นไปได้ยากที่ผลลัพธ์จะออกมาทางที่ดี  ซึ่งดิฉันเป็นคนในคนหนึ่งที่รักและชอบในวิชาภาษาอังกฤษ  อยากจะฝึกพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและความรู้ในสิ่งที่ตนเองรัก  ซึ่งการพัฒนาสิ่งที่ดิฉันชอบนั้นจึงเริ่มจากฝึกทักษะการฟังและการอ่านโดยการดูภาพยนตร์  ซึ่งการดูภาพลและฟังด้านมากมาย  เนื่องจากเรามีความรู้เชิงวัฒนธรรมของกันและกันน้อย  เราไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เขาสื่อได้จึงทำให้เราเกิดการยอมแพ้  และนี่คือเหตุผลสำคัญเลยที่ทำให้การพัฒนาทักษะการฟังไม่ประสบผลสำเร็จ  แต่เมื่อเรารู้เหตุผลแล้วนั้นเราควรที่จะไม่ยอมแพ้และทำความเข้าใจต่ออุปสรรคทั้งหมดเพื่อนำมาเป็นแรงกดดันเพื่อสร้างกำใจในการฝึกทักษะการฟังจากการดูภาพยนตร์

learning log 7 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

                           
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
 Learning Log 7  ( 22.09.58 )
·       สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
การแปลงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยนั้น มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับ ไวยากรณ์ (Grammar)  ซึ่งวิชาภาษาอังกฤษนั้น ไวยากรณ์นั้นเปรียบเสมือน กระดูกสันหลังที่เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ  ซึ่งการแปลประโยคให้มีภาษาที่สละสลวยได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ conditional sentence  (ประโยคเงื่อนไข )  เพราะการแปลประโยคเงื่อนไขให้มีภาษาที่สละสลวย ภาษที่ชัดเจนนั้น ดั้งนั้นเราต้องรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของประโยคเงื่อนไข และมีกี่แบบโดยทั่วไปของประโยคเงื่อนไขในภาษาอังกฤษ  เราจะสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องประโยคเงื่อนไขเชื่อมโยงการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ที่ควรแปลให้ดี  และเมื่อแปลออกมาแล้วจะได้ภาษาที่สละสลวย และผู้อ่านสามารถอ่านแล้วเกิดความประทับใจในการอ่านการแปลชิ้นนั้นอย่างมีความสุขในการอ่านและมีความประทับใจ  ดังนั้นสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนประโยคเงื่อนไข (conditional sentence )สามารถสรุปใจความสำคัญและประเด็นความรู้ที่เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกับการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย

Reading for main idea : Main idea

Leaning log 6
1/095/8
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
                การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นมีแหล่งที่จะให้เรียนรู้เกี่ยวกับภาอังกฤษมากมายสามารถฝึกได้ด้วยตนเองทุกทักษะ เช่น ทักษะการฟังสามมารถฝึกจากการฟังผ่านวิดีโอได้เช่นเดียวกันกับทักษะการฟัง ส่วนทักษะการอ่านสามารถฝึกการอ่านได้จากบทความภาษาอังกฤาพร้อมทั้งกบการฝึกทักษะการเขียนด้วยการตอบคำถามจากบทความภาษาอังกฤา ซึ่งก่อนที่เราสามารถอ่านบทความได้นั้น เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Main idea  การอ่านแบบ Skiming และ scaning ก่อนเราจะฝึกทักษาะการอ่านได้อย่างมีเหตุผลนั้นเราต้องรู้จักวิธีการอ่านอย่างมีเหตุมีผลตามหลักการอ่านจับใจความสำคัญ

ฝึกทักษะการอ่าน วรรณคดีอังกฤษ Twentieth-Century Novels

 ดิฉันได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับวรรณคดีอังกฤษ โดยบทที่ดิฉันอ่านนั้นชื่อว่า Twentieth-Century Novels โดยจะมีนักแต่งนิยายในศตวรรษที่ 20 จำนวน 11 คน  โดยมีชื่อว่า E.M. Forster , H.G. well, Somerset Mangham, D.H.Lawraence, James joyce, William golding, George orwell, Arthur c. clark, Jopeph Conrad, Robert Louis Stevenson, Thomas hardy. ซึ่งนักแต่งนึงนิยายทั้ง 11 คนนรี้ จะมีลักษณะของการเขียนนวนิยายที่แตกต่างกันจนทำให้เกิดงานเขียนนวนิยายที่น่าสนใจมาให้อ่านจนน่าประทับใจจนถึงปัจจุบัน ซึ่งศตวรรษที่ 20 นี้จะเป็นรูปแบบการเขียนที่มีรูปแบบของการสะท้อนสภาพสังคมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากช่วงสงครามโลก

learning log 5 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

Learning Log 5 (01.08.58)
·       สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นการศึกษาภาษาอังกฤษที่ไม่จำกัดอยู่ในเฉพาะตำราเรียนและห้องเรียน ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษภายใต้สภาวะแวดล้อมรอบข้างที่ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษหรือสนทนาภาษาอังกฤษกับเรา เราจึงต้องเปลี่ยนความพยายามโดยการหมั่นฝึกฝน เพียรพยายามวันละนิด แต่ต้องมีความสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่ได้จำกัดในห้องเรียน ดิฉันจึงคิดว่าดิฉันควรเริ่มฝึกฝนภาษาอังกฤษจากสิ่งใกล้ตัวเรา สิ่งที่เราสามารถฝึกฝนได้ตามระดับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งตัวดิฉันเองได้ฝึกทักษะการฟังและการพูด จากสื่อเพลงและวีดีโอที่สามารถหาได้ง่ายจากอินเทอร์เน็ต และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด  ดังนั้น การฝึกฝนควรเริ่มได้เลยหากใจพร้อม  ซึ่งทักษะการฟังและการพูดคือทักษะที่เป็นจุดด้อยของดิฉัน  ดิฉันจึงเริ่มพัฒนาตัวเองจากจุดด้วยจุดนี้

เทคนิคการเดินประโยคสำหรับการแปล

Learning Log 4 (25/08/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน

                      สำหรับสิ่งที่เรียนรู้นอกชั้นเรียนนั่นจะเป็นการศึกษาค้นหาความรู้และเพิ่มความสามารถทักษะด้านการเขียน (writing) เนื่องจากงานแปลนวนิยายนั้นทำให้ดิฉันพบข้อบกพร่องของตนเองในการเรียนแปลนวนิยายของดิฉัน ฉันรู้คำศัพท์และสามารถเรียงประโยคให้สวยมีความไพเราะและเขียนแปลความนวนิยายให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายได้ ดังนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านการแปลนวนิยายได้อย่างเข้าใจ จึงทำให้ดิฉันอยากที่จะแปลนวนิยายออกมาให้ดี ดิฉันจึงคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านการแปลนวนิยายได้อย่างเข้าใจจึงทำให้ดิฉันแปลนวนิยายออกมาให้ดี ดิฉันจึงคิดว่ามีความจำเป็นต้องศึกษาการแปลภาษาอังกฤษเป็นเป็นภาษาไทย การแปลภาษาอังกฤษให้ถูกต้องและสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมากในการแปลภาษา คือ เทคนิคการเดินประโยคสำหรับการแปล (การแปลงอย่างเป็นระบบ) จะเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ประโยคว่าแต่ละประโยคมีส่วนประกอบ ประธาน ส่วนประธาน เพื่อทำให้การแปลเกิดความไพราะเพราะพริ้งและการแปลให้ไพเราะนั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์การแปลบ่อยๆ ด้วย และจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าหากเรามีความรู้วิธีเดินประโยคแล้วเราสามารถแปลเอกสารภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นสรุป ได้ว่าการแปลอย่างเป็นระบบจะต้องอาศัยเทคนิคการแปลหลายๆอย่างเพื่อทำให้ได้งานแปลที่ดีที่มีคุณภาพ
                  เทคนิคการแปลต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เริ่มเรียนการเปลี่ยนแปลจะต้องอาศัยขั้นตอนการแปลในส่วนแรกคือ การหาส่วนประธานและแปลส่วนประกอบ เราจะแปลหรือเขียนแปลได้ดีจะต้องมีความรู้เรื่องโครงสร้างไวยากรณ์เป็นอย่างดี ไวยากรณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และแยกแยะประโยคได้ เมื่อสามารถแยกแยะและวิเคราะห์ประโยคได้ก็จะสามารถร็ได้ว่าประโยคไหนควรแปลก่อน แปลหลัง และแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน จะทำให้แปลสละสลวย และส่วนประธานอาจเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นได้ ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นได้ ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวก็หมายความว่าคำศัพท์ คำนั้นเป็นทั้งส่วนประธาน และตัวประธานในตัวเดียวกัน ในกรณีนี้ให้แปลประธานได้ทันที แต่ถ้าส่วนประธานประกอบด้วยคำศัพท์หลายคำศัพท์ผู้เรียนต้องกำหนด 1) ตัวประธานและ 2)ส่วนขยายประธานเพื่อหาตัวประธานได้แล้ว ค่อยลงมือแปลตามลำดับของคำ โดยสรุปว่าควรเริ่มแปลจากตัวประธานและส่วนขยาย แต่บางครั้งการแปลแบบนี้อาจจะทำให้งานแปลออกมาแบบทื่อๆ ตรงไปตรงมา ซึ่งมีผลให้การแปลไม่น่าอ่าน

learning log 4 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

การสอนแบบ Teach less ,Learn more

Learning Log 3 (18 /08/58)
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
วิธีการสอนในยุคปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวิธีมากขึ้นซึ่งวิธีการสอนนั้นจะพัฒนาไปตามพัฒนาการสอนของผู้เรียน  ดิฉันในฐานะนักศึกษาครุศาสตร์ที่ในอนาคตอีก2ปีจะไปเป็นผู้สอน จึงว่าเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสอนไว้หลายรูปแบบเพื่อพร้อมกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพที่แท้จริงและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และในปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังพบปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง คือการศึกษาซึ่งวิธีการสอนของประเทศไทยนั้นจะมีแนวทางการสอนที่สืบเนื่องกันมานานมากทำให้รูปแบบการสอนส่วนมากก็จะเป็นวิธีที่ครูป้อนข้อมูลให้นักเรียนด้านเดียว ทำให้นักเรียนอาจขาดทักษะการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเองไปได้ และวิธีการสอนนั้นก็ไม่สามารถพัฒนาให้นักเรียนก้าวไปได้ไกลกว่าเดิมเท่าใดนัก และเมื่อดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนแบบใหม่นั้นคือ การสอนแบบ Teach less ,Learn more  จากอาจารย์ อนิวุธ ชมสวัสดิ์ว่าการสอนแบบนี้ได้ใช้ในประเทศสิงคโปร์ และในปัจจุบันนี้ประเทศสิงคโปร์ได้มีการพัฒนาคุณภาพทางด้านการศึกษาไปได้ไกลมากมีคุณภาพที่ดี และนี่ก็คือเหตุผลที่สำคัญที่อนาคตครูไทยจำเป็นต้องศึกษาวิธีการสอนนี้เพิ่มเติม

Learning log 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน

          การเรียนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยหลักการที่ว่า Teach less Learn more ซึ่งหมายความว่า สอนให้น้อย และเรียนรู้ให้มาก ซึ่งในทางตรงกันข้ามกันนั้น ประเทศไทยจะเน้นไปยังการสอนที่มาก และเรียนรู้น้อยซึ่งแตกต่างกับประเทศสิงคโปร์ นี่อาจจะเป็นประเด็นหนึ่งก็เป็นไปได้ที่ทำให้การศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทยมีการพัฒนาที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย ดังนั้นการจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้นจะต้องมีการเรียนรู้ สามด้านทางภาษาอังกฤษ คือ  ด้านที่หนึ่งคือ Syntax การแต่งประโยค ด้านที่สองคือ Phonology  จะว่าด้วยการออกเสียงให้ถูกต้อง ส่วน Semantic จะว่าด้วยการแปลความหมาย ซึ่งการเรียนรู้ที่สำคัญต่อวิชาการแปลนั่นคือ คือ  Syntax คือ การแต่งประโยค และ Semantic จะว่าด้วยการแปลความหมาย ซึ่งการแต่งประโยคและการแปลความหมายนั้นให้ถูกต้องนั้นต้องอาศัยหลักความรู้ในเรื่องของไวยากรณ์เป็นหลักสำคัญ ดังนั้นพื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นอย่างมากในการเรียนการแปลให้ดีและถูกต้องนั้นคือ Tenses ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกว่ากระทำอะไรและเวลาใดเพื่อให้ได้การแปลที่ถูกต้องและมีภาษาที่ชัดเจนเข้าใจความหมายได้ง่าย